...ือ"กับผู้บริหารทวิตเตอร์ประจำภูมิภาคเอเซียแปซิฟิคใน 2 ประเด็นคือ 1.fake news จาก #coronavirus และ 2.ความรุนแรงจากเหตุกราดยิงที่โคราช 20 Feb 2020 "นิรนาม" ถูกจับกุมตัวตามพ.ร.บ.คอมฯ โดยแหล่งข่าวเปิดเผยว่าได้หมายเลขไอพีมาจากผู้ให้บริการมือถือ (True) แต่ชาวเน็ตหลายคนตั้งข้อสังเกตว่า ลำพังแค่ทรูอย่างเดียวไม่น่าได้ IP address และ twitter ซึ่งเป็นเจ้าของเว็บ ย่อมมีข้อมูล IP address แต่ทวิตเตอร์มีนโยบายไม่ให้ข้อมูลของผู้ใช้และไม่มีสำนักงานในไทย จึงไม่อยู่ภายใต้เงื่อนไข พ.ร.บ.คอมฯ มาตรา 18 ทวิตเตอร์อาจจะไม่ให้ข้อมูลก็ได้ 12 May 2020 รัชดา ธนาดิเรก รองโษกรัฐบาล ให้เหตุผลที่รัฐบาลต้องออกร่างพระราชกฤษฎีกาขยายเวลาบังคับใช้ "พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล" บางหมวดบางมาตรา ออกไป 1 ปี ว่าเพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบจาก #COVID19 ที่มีต่อทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน ให้ได้มีเวลาเตรียมความพร้อม ซึ่งชาวเน็ตพากันสงสัยว่าเหตุผลที่ฟังดูตลกนี้ใช่เหตุผลที่แท้จริงหรือไม่ 13 May 2020 Twitterเปิดแอคเคาท์ทวิตเตอร์ประเทศไทยอย่างเป็นทางการแบบ 2 ภาษา แต่การเลือกนำเสนอทวีตของพุทธิพงษ์ และเขียนว่ารัฐบาลไทยเป็น "Partners in Thailand" ผ่านทาง official blog รวมถึงการให้สัมภาษณ์กับ The Standard ของกรรมการผู้จัดการประจำทวิตเตอร์ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ว่า "สำหรับในประเทศไทย เรายังได้ทำงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับ พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีDEs ในความร่วมมือการให้ข้อมูลข่าวสารที่น่าเชื่อถือของประเด็นโรคระบาดโควิด-19 อีกด้วย" กลับสร้างความเคลือบแคลงสงสัยแก่บรรดาผู้ใช้ชาวไทยว่า "มีจุดประสงค์อะไรกันแน่" และพากันตั้งคำถามว่า เปิดบัญชีมาเพื่อสอดส่องคนวิจารณ์รัฐบาลไทยหรือไม่ และทำไมจังหวะเวลาช่างสอดรับกับการเลื่อนการบังคับใช้พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ผ่านแฮชแท็ก #ไม่เอาทวิตเตอร์ไทยแลนด์.