"Some cultures might be better than others"
(Yuval Noahs Harari, 2018)
เอาล่ะครับ หลังจากติดตามเรื่องราวของวันเฉลิม และ ปู ไปรยา ในบทบาททูตแห่งองค์กรช่วยเหลือผู้ลี้ภัยนานาชาติไปแล้ว เรามาลองมุปอร เพื่อไปดูประเด็นที่กว้างขวางขึ้นกัน
....นั่นคือ เรื่อง การเหยียดวัฒนธรรม ดังที่จั่วหัวไว้ว่า "Some cultures might be better than others" บางวัฒนธรรมอาจจะเหนือกว่าวัฒนธรรมอื่น ประโยคนี้คือหัวข้อใหญ่ในหนังสือเรื่อง 21 lessons for the 21st century ของ Yuval Harari ซึ่งเป็นบทเรียนที่มนุษยชาติได้เรียนรู้ในศตวรรษที่ผ่านมา
.....ยูวาล จึงหยิบยกประเด็น "การอพยพลี้ภัย" ซึ่งเกิดขึ้นอย่างมากในปลายศตวรรตที่ 20 ครับ เพราะสมัยที่แนวคิดวิวัฒนาการนิยมทางสังคม (Social Darwinism) นั้นรุ่งเรือง เขาเชื่อว่ามีบางชนชาติวิวัฒนาการมาเหนือกว่าบางชนชาติ จึงมีการเหยียดกันด้วยเชื้อชาติ สีผิว เช่น คนผิวดำนั้นด้อยกว่าคนผิวขาว หรือคนเอเซียนั้นด้อยกว่าคนตะวันตก แต่เมื่อสิ้นสุดศตวรรษที่ 20 ความเชื่อเหล่านั้นเบาบางลงเพราะพิสูจน์ผ่านวิทยาศาสตร์แล้วว่าไม่จริงตามแนวคิด Social Darwinism กล่าวอ้าง คนดำไม่ได้มีอะไรด้อยกว่าทางชีววิทยาเลยซักนิด แถมยังเหนือกว่าในบางด้านอีกด้วยซ้ำ ยูวาลจึงอธิบายในหนังสือว่า ทุกวันนี้และต่อไปการเหยียดกัน เป็นเรื่องของวัฒนธรรมว่า "เพราะเธอมีวิธีคิดอย่างนี้ เธอจึงทำตัวอย่างนั้น เธอถึงได้ด้อยกว่าชั้นไงล่ะ"
......หลายคนก็แย้งยูวาลได้ทันทีในตอนนี้ว่า ไม่ได้เป็นตามที่ยูวาลบอก เพราะวันนี้หลักฐานเชิงประจักษ์คือ กรณีจอร์จ ฟลอยด์ ที่ประเด็นเหยียดสีผิวถูดกล่าวอีกครั้ง และยังคงเป็นไป แต่ผมทิ้งคำถามไว้ตรงนี้ก่อนว่า ในความเป็นจริงแล้วการเหยียดสีผิวในปรากฏารณ์จอร์จ ฟลอยด์ เป็นการเหยียดเชื้อชาติ หรือ "เหยียดวัฒนธรรม" กันแน่?
.....ยูวาล อธิบายต่อไปว่า การเหยียดทางวัฒนธรรมส่งผลกระทบถึงผู้อพยพมากมายที่ "ผู้คน" เจ้าของประเทศทาง ซึ่งคือยุโรปและอเมริกาส่วนใหญ่ไม่เปิดรับ เพราะเค้าเชื่อว่ากลุ่มคนเหล่านั้นมีวิธีคิดหรือกระทำตัวบางอย่างที่ไม่เหมาะสมกับประเทศเค้า ดังนั้นคนกลุ่มที่ว่าจึงไม่เหมาะสมที่จะอยู่ในประเทศนี้ เช่น หญิงมุสลิมสวมฮิญาบขึ้นรถเมล์ อาจถูกมองว่า ยูมาอยู่บ้านชั้นแล้วยูไม่ต้องสวม การสวมฮิญาบเป็นการละเมิดสิทธิ์ คำสอนของศาสนาที่บังคับให้สวมเป็นการกดขี่เพศหญิง หรือบางกรณี คนเอเชียที่มีสมาคมกันพูดภาษาเอเชียในที่สาธษรณะอาจถูกตะโกนด่าได้ว่า ทำไมยูไม่พูดอังกฤษยูมาอยู่นี่ก็ต้องพูดภาษาที่นี่ (กรณีนี้เกิดขึ้นจริงครับ)
........หรือแม้แต่การที่ Donald Trump ที่ออกตัวเองเลยว่า คนเม็กซิกันด้อยกว่าคนอเมริกาไม่ใช่เพราะเชื้อชาติ แต่เพราะพวกเค้าทำตัวแบบนั้นแบบนี้ที่เราไม่ทำเท่านั้นเอง ดังนั้นประเทศอเมริกาเราจึงไม่เหมาะสมที่จะเปิดรับเค้าด้วยวัฒนธรรมที่ไม่เข้ากัน ถ้าเค้าอยากจะเข้ามาประเทศเรา เค้าก็ต้องทำตัวเหมือนเรา อยู่เหมือนเรา เป็นเหมือนเรา
.......ดังนั้น "วัฒนธรรม" ในความหมายที่นักมานุษยวิทยานิยามกันสายหนึ่ง คือ ชุดความคิด ความเชื่อ ความหมาย ที่ส่งผลให้เกิดแบบแผนของการกระทำ การกระทำที่ผิดแผกไปจากคนหมู่มากในสังคม จึงเป็นการปะทะทางวัฒนธรรม และทำให้วัฒนธรรมที่มีอำนาด้อยกว่าถูกทำให้แปลกแยก เป็นอื่น นำมาสู่กดขี่ ละเมิดสิทธิ์ นั่นเอง
......กลับมาที่ปรากฏการณ์ฟลอยด์ ผมว่าสื่อลายสำนักวิเคราะห์ตรงกันครับว่านี่การประท้วงแค่ประเด็น Racism แต่เป็น Systematic Racism หรือการเหยียดเชื้อชาติอย่างเป็นระบบ หากมองตามนักมานุษยวิทยาข้างบน จะเห็นว่ามันมีระบบคุณค่า 2 ระบบที่ปะทะกัน คือ ความคิดความเชื่อแบบคนผิวขาว (White Supremacy) และ ระบบโครงสร้างสังคมของคนผิวดำที่ถูกบีบให้อยู่ในวังวันของการทำงานที่มีรายได้ต่ำ อยู่ในชุมชนแออัด และการกีดกันสิทธิ์อื่นๆ ตามโครงสร้างกฏหมาย
.....ลองจินตนาการดูครับ ว่าคุณอยู่ในโครงสร้างที่จำกัดทุกอย่าง วิธีคิดจะหลุดพ้นจากกรอบโครงไม่ง่าย ดังนั้นการกระทำของคนผิวสีในอเมริกาจึงถูกทำให้เป็นอื่น เป็นความระแวง ว่าคนดำจากย่านที่อาชญากรรมสูงอาจจะเลว ทั้งนี้เพราะโอกาสที่เขาจะย้ายที่ทำได้ยาก พฤติกรรม สถานะ การแสดงออก พวกนี้จึงเป็น "วัฒนธรรมคนผิวสี" ในอเมริกา ที่ผลิตซ้ำให้เราเห็นผ่านสื่อ
.....ผมจึงมองว่า ความหวาดระแวงที่ตำรวจ และคนผิวขาวปฏิบัติต่อคนผิวสี คือ การหวาดกลัวและรังเกียจวัฒนธรรม วิธีคิด การกระทำ ของคนผิวสีมากกว่าการเหยดผิวสีด้วยสีของผิวเอง
......ย้อนกลับมาที่บ้านเรา เอาตรงประเด็นเลยก็คือ ประเด็นพี่วันเฉลิมในฐานะผู้ลี้ภัย มันมาเกี่ยวข้องกับประเด็นการเหยียดวัฒนธรรมได้อย่างไร?
......กระแสการประท้วงกรณีจอร์จ ฟลอยด์ คือ กระแสที่คนในอีกวัฒนธรรมหนึ่งไม่พอใจกับวัฒนธรรมแบบ White Supremacy แล้ว คนรุ่นใหม่ในอเมริกามีวัฒนธรรมอีกแบบและมันเป็นไวรัลที่ข้ามโลกกลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า "Popular Cuture" ดังนั้นเมื่อมันข้ามมาไทย มันปะทะผู้นำวัฒนธรรมป๊อปก่อน คือ คนรุ่นใหม่ชนชั้นกลางอย่างเราๆ และแน่นอนตัวชี้วัดสำคัญคือ เซเลบไทย ออกมาเด้งรับ เพราะมันเป็นเรื่องเท่ และป๊อปปูล่า (พอคนพวกนี้ทำฮิต มันจะเป็น Mass Culture นั่นเอง)
.....ประเด็นก็คือ เซเล็บไทยเป็นพวกที่ไม่ต้องเข้าใจวิธีคิดอะไรก็ได้ ขอแค่มันป็อป มันว้าว เพื่อผลิตซ้ำภาพ สัญลักษณ์ หรือคำพูดที่ Popular ขณะนั้น เช่น Black Lives Matter แบบเซเล็ปอเมริกา (อันนี้ผมอคตินิดนึง) แต่คนที่เข้าใจและตระหนักก็มี ในเชิงกระบวนการรับรู้วัฒนธรรมมันจึงไม่ไปถึงโครงสร้างของประเด็น ที่ไปไม่ถึงโครงสร้างก็ไม่ผิดเพราะมันเป็นเรื่องยากเพราะไทยและอเมริกามีโครงสร้างที่ต่างกัน (เราจึงต้องอ่านประวัติศาสตร์สังคมให้มากเพื่อเข้าใจตรงนี้)
.....ตัวอย่าง ก็คือ การสงสารเด็กๆ ในซีเรีย การช่วยเหลือเด็กๆ นแอฟริกา หรือผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา เป็นภาพวัฒนธรรมแบบ White Supremacy มากๆ เพราะคนขาวเหนือกว่าโอกาสดีกว่าจึงช่วยเหลือคนทุกข์ยากกว่า โดยไม่ต้องเข้าใจโครงสร้างสังคมวัฒนธรรมว่าที่เขามาตกระกำอยู่อย่างนี้เพราะอะไร ดังนั้นเซเล็ปไทย คนไหนได้ปฏิบัติตัวเยี่ยงคนขาวที่ออกช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากอย่างผิเผิน คือ การเสพความฟินแบบ White Supremacy (แต่ก่อนเราเห็นคุณนายอีลิททั้งหลาย ตอนนี้เป็นดาราและนิวริชหน้าใหม่)
....วัฒนธรรมการสงเคราะห์ผู้ได้ยากเเบบ เด็กโรฮิงญา เด็กๆ ชาวซีเรีย จึงเป็นภาพวัฒนธรรมแบบคนขาว แต่การช่วยเหลือหรือร้องแรกแหกกระเชิงช่วยคนไทยด้วยกันที่ถูกละเมิดจะไม่ทรงพลังเท่าการได้ช่วยเด็กชาวซีเรียอย่างที่คนขาวทั่วโลกทำกัน ตรงนี้ คือการเหยียดวัฒนธรรมนั่นเอง
....การเหยียดวัฒนธรรม ในที่นี้ คือ วัฒนธรรมการช่วยเหลือด้านสิทธิมนุษยชน ว่าคุณยืนอยู่ข้างการช่วยเหลือแบบ White Supremacy หรือ การช่วยเหลืออย่างมนุษย์ที่เข้าใจมนุษย์
......เรื่องนี้เข้าใจง่ายมากว่าเขายืนอยู่จุดไหน นั่นคือ เขาอธิบายปัญหานั้นอย่างไร? หากมองแบบนักมานุษยวิทยาก็คือ การกระทำ คำพูด คำอธิบาย ของมนุษย์ เกิดจากการให้ความหมายทางวัฒนธรรม หากเขามองว่า การเรียกร้องความเป็นธรรมเรื่อ "อุ้มหาย" ของกรณีวันเฉลิม ไม่เท่ากับ "การช่วยเหลือจุนเจือเด็กซีเรีย" หมายความว่ามันมีปัญหาบางอย่างในโครงสร้างทางวัฒนธรรมของเขาทำให้เขาคิดว่าเรื่องนี้มันไม่เท่ากัน เรื่องของวันเฉลิมจึง "เป็นอื่น"
.....และการที่ประเด็นด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนสองเรื่องนี้ถูกมองว่าไม่เหมือนกัน หรือไม่เท่ากัน ไม่ใช่แค่เพราะรายละเอียดของเคสมันต่างกัน แต่เพราะวัฒนธรรมมันให้ความหมายเรื่อง "มนุษยชน" ต่างกัน
.....แต่การให้ความหมายของสิทธิมนุษยชนของคนทั้งโลกพยายามทำให้เหมือนกัน การที่เรานิยามต่าง หมายความว่าโครงสร้างสังคมเรามีปัญหาเชิงโครงสร้างเหมือนเช่นกรณี Systematic Racism ในอเมริกา
.....อาจจะต่างกันตรงที่ว่า สุดท้ายแล้ว สองสังคมจะใช้กระบวนการแก้ไขปัญหานี้ได้ ระหว่างสังคมหนึ่งที่ลุกขึ้นมาทวงสิทธิ์ให้ตัวเองและคนอื่นได้ทุกเมื่อ กับอีกสังคมหนึ่งทำได้เเค่ "ไม่ทราบ ซับซ้อน ไม่มีความรู้ กลัวค่ะ ฯลฯ" คนที่เรียกร้องเพื่อมนุษยธรรม กลับกลาย "เป็นอื่น" เหมือนถูกเหยียดวิธีคิดเรื่องมุษยธรรมไปเสียอย่างนั้น
...และสังคมนั้นคือสังคมกูเอง สังคมที่เหยียดวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับมนุษยธรรม