Cr. Somsak Jeamteerasakul : 30 มิถุนายน 2560
พระเทพฯ กับ สยามพิวรรธน์ และ ย่านศูนย์การค้าสยาม ( ข้อมูล )
อย่างที่รู้กันว่า หนึ่งในสองกลุ่มทุนใหญ่ที่ดำเนินการ "ไอคอนสยาม" ( และที่โฆษณาไว้ล่วงหน้าตั้งแต่ต้นปีกลายว่าจะมี "หอชมเมือง" เป็นหนึ่งใน "เจ็ดมหัศจรรย์" ของ ไอคอนสยาม ก่อนที่ รบ.คสช. จะมี "มติ" ปลายปีว่า รัฐบาลมี "นโยบาย" จะสร้างหอชมเมือง ) คือ กลุ่มบริษัท "สยามพิวรรธน์"
(เมื่อวานเห็นข้อเขียนของคุณวีระ ธีรภัทร เขียนว่า "สองบริษัทที่ว่าบริษัทแรกเป็นบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ของตระกูลเจียรวนนท์ ส่วนบริษัทหลัง [สยามพิวรรธน์] ไม่อยากพูดถึงไปหาข้อมูลกันเอาเอง")
ตามข้อมูลของ ดร.แซร์หัต อือนัลดี ( Serhat Ünaldi ) นักวิชาการเยอรมันที่วิจัยเกี่ยวกับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับราชวงศ์ไทย โดยเฉพาะในเขตบริเวณราชประสงค์-สยาม (เขตที่มีการชุมนุมเสื้อแดงปี 2553) ในบทความเรื่อง Working Towards the Monarchy and its Discontents: Anti-royal Graffiti in Downtown Bangkok ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Contemporary Asia ปีที่ 44 ฉบับที่ 3 ( ต้องเป็นสมาชิกถึงอ่านได้ แต่ผมเคยเห็นเคยมีคนเอามาเผยแพร่ออนไลน์ https://www.tandfonline.com/doi/full/10.1080/00472336.2013.842260 )
พระเทพ เป็นเจ้าของที่ดินบริเวณสยาม ดังนี้ ที่ดินวังสระปทุม, ที่ดินที่ตั้งโรงแรมสยามเคมปินสกี้, ที่ดินที่ตั้งสยามพารากอน, สยามเซ็นเตอร์, สยามคาร์พาร์ค, สยามทาวเวอร์, และสยามดิสคัพเวอรี่
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นเจ้าของที่ดินบริเวณนั้น ดังนี้ ที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งห้างอิเซตัน, โรงแรมเซนทาร่าแกรนด์, ห้างเซ็นทรัลเวิร์ล, ห้างเซน, สำนักงานเซ็นทรัลเวิร์ล, ชุมชนหลังวัดปทุม ( ย่านสลัม ), และ โรงเรียนวัดปทุม ( ที่ดินส่วนทีตั้งวัดเป็นของวัด )
พระเทพฯและในหลวงภูมิพล ยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน สยามพิวรรธน์ (ชื่อบริษัทพระราชทานของพระเทพ) โดยในหลวงภูมิพลถือหุ้น 180,000 หุ้น และพระเทพ 4.32 ล้านหุ้น ซึ่งส่วนใหญ่ซื้อต่อมาจากกระทรวงการคลังและธนาคาร CIMB Thai ในปี 2546 และ 2548 รวมกันแล้วครอบครัวราชวงศ์ไทย (พระเทพ-ในหลวงภูมิพล ไม่นับหุ้นของสยามพิวรรธน์ ที่ถือโดยกองทุนลดาวัลย์ และ ธ.ไทยพาณิชย์ ซึ่งอยู่ในเครือ สนง.ทรัพย์สินฯ) จึงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับสองของ สยามพิวรรธน์ ซึ่งเป็นผู้ดำเนินกิจการพวกศูนย์การค้าต่างๆที่ตั้งบนที่ดินของพระเทพข้างต้น
ดังนั้น พระเทพ จึงมีรายได้สองต่อ คือ ต่อแรก ในฐานะเจ้าของที่ดิน ที่ให้ศูนย์การค้าเหล่านั้นเช่า และอีกต่อหนึ่ง ในฐานะผู้ถือหุ้น สยามพิวรรธน์ ที่ดำเนินการศูนย์การค้าเหล่านั้น
ดร.แซร์หัต คำนวนว่า ในฐานะเจ้าของที่ดิน (รายได้ต่อที่หนึ่ง) พระเทพ น่าจะมีรายได้จากค่าเช่าต่อปี ราว 1.68 พันล้านบาท (โดยคำนวนจากอัตรา ราคาเช่าที่ดินกลางกรุงเทพ 600 ล้านบาทต่อไร่ จำนวน 70 ไร่ และการขึ้นราคาค่าเช่า 4% ต่อปี)
ส่วนรายได้ในฐานะผู้ถือหุ้น สยามพิวรรธน์ (รายได้ต่อที่สอง) จากข้อมูลกระทรวงพาณิชย์ที่ ดร.แซร์หัตได้มา ในปี 2553 พระเทพ ได้รายได้ในฐานะผู้ถือหุ้นสยามพิวรรธน์ 145 ล้านบาท หรือเกือบ 1 ใน 4 ของรายได้ทั้งหมดที่บริษัทแจกจ่ายให้ผู้ถือหุ้นในปีนั้น
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1353859941333948&set=pb.100001298657012.-2207520000..&type=3&size=1012,512
#ThaiKingMurders
#AntiMonarchyTH
#OurThaiKingMurderUs
#WhyIsTheKingTH #MindsTH