บทความแปล: รัฐบาลไทยกำลังใช้เด็กๆ ทำหน้าที่ “ลูกเสือไซเบอร์” เพื่อจับตาพวกต่อต้าน
(Thailand's government is using child 'Cyber Scouts' to monitor dissent)
รัฐบาลไทยกำลังเกณฑ์ประชาชนของตนเองเพื่อทำงานเป็นสายสืบซึ่งกันและกันบนโลกโซเชี่ยลมีเดีย และแถมยังให้รางวัลกับพวกเด็กๆ ซึ่งทำงานเป็น “ลูกเสือไซเบอร์” (Cyber Scouts) เมื่อพวกเด็กๆ เหล่านี้ แจ้งให้ทางการได้ทราบถึงการแสดงความคิดเห็นต่างๆ ซึ่งพวกเขาได้เห็นบุคคลต่างๆ กระทำกัน โดยเฉพาะกับเรื่องการดูหมิ่นต่อพระราชสันตติวงศ์ของประเทศชาติ
ตามรายงานชุดใหม่ซึ่งเผยแพร่ออกมาเมื่อวันจันทร์ที่ 19 กันยายน โดย Privacy International ซึ่งเป็นกลุ่มที่จับตามองการกระทำทางด้านสิทธิมนุษยชน ได้กล่าวว่า ข้อมูลต่างๆ ที่ถูกรวบรวมมาได้นั้น ได้ช่วยให้ทางการตำรวจไทย สามารถตั้งข้อกล่าวหาในเรื่องของ “การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” – ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีอยู่ยาวนานในประเทศไทย ซึ่งระบุว่า “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 15 ปี"
หลังจากการก่อการรัฐประหารใน ปี พ.ศ. 2557 ซึ่งนำโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็เริ่มมีระดับการสอดแนมดูแลในโลกออนไลน์เพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งดำเนินการโดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ที่ฝ่ายเผด็จการทหารสร้างขึ้นมาเพื่อทำการบริหารประเทศไทย การเสนอกฎหมายพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ซึ่งมีการแก้ไขขึ้นมาใหม่ในปี พ.ศ. 2557 นั้น ได้ให้อำนาจต่อฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจอย่างกว้างขวางในการเฝ้าสังเกตการณ์ต่อกิจกรรมที่มีการโพสต์ต่างๆ ในโลกออนไลน์
ส่วนเรื่องที่ทางฝ่ายเผด็จการทหาร ไม่สามารถกระทำได้ด้วยการผ่านทางด้านเทคโนโลยี่นั้น ก็พยายามกระทำด้วยการใช้ตัวกระตุ้นจูงใจและใช้การข่มขู่คุกคามเข้ามาแทน เรื่องที่ถูกเปิดเผยในรายงานซึ่งสร้างความวิตกกังวลเป็นอย่างมากคือ การเกณฑ์เด็กเยาวชนเข้ามาทำงานกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำการสอดแนมต่อกิจกรรมต่างๆ ของเพื่อนฝูงและแม้แต่ภายในครอบครัวของตนเอง ความคิดริเริ่มในเรื่องนี้ เรียกว่า “ลูกเสือไซเบอร์” ที่ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการครั้งแรกในปี พ.ศ. 2553นั้น ในเวลานี้ ก็ดำเนินการโดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติของไทย ซึ่งเสนอมอบเงินรางวัลให้ 500 บาท (ประมาณ $15) ให้กับผู้ใดก็ตาม ที่สามารถแจ้งข้อมูลเบาะแสกับบุคคลที่ทำการต่อต้านการรัฐประหาร
อย่างไรก็ตาม ลูกเสือไซเบอร์ของทุกวันนี้ ก็ไม่ได้รับเงินรางวัลกันแต่อย่างใด พวกเขากลับได้รับ “แต้มสะสม” แทน ถ้าหากสามารถสร้างความสำเร็จด้วยการลากตัวเพื่อนบ้านออกมาได้ และต่างก็หวังว่า จะได้รับเกียรติยศ ด้วยการโพสต์ประวัติของตนเองให้ปรากฏอยู่อย่างโดดเด่นบนหน้าเวปไซต์ของลูกเสือไซเบอร์
“เรื่องใหญ่เรื่องหนึ่งที่น่าเป็นห่วงคือ .... การรักษาสภาวะแวดล้อม ที่คนธรรมดาๆ โดยทั่วไป จะชอบให้บอกเล่าเรื่องให้คนอื่นๆ ได้รับรู้ ผลก็คือ ผู้คนก็จะถูกประณามโดยอดีตเพื่อนเก่าๆ, หรือโดยครอบครัวของพวกเขา และโดยหนทางอื่นๆ อีกด้วย” กล่าวโดยคุณ Eva Blum-Dumontet ซึ่งเป็นนักวิจัยของ Privacy International ให้กับ สำนักข่าว VICE ได้ทราบ ก่อนที่จะเผยแพร่รายงานชุดนี้ให้ทางสาธารณะได้ทราบ
สองปีหลังจากการก่อการรัฐประหารผ่านพ้นไป ประชาชนจำนวน 527 คนได้ถูกจับกุม และ 167 คนได้ถูกทำการตัดสินคดีในศาลทหาร และอีก 68 คนได้ถูกตั้งข้อหาเกี่ยวกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามสถิติที่ลงไว้ในเวปไซต์ iLaw ซึ่งเป็นเวปไซต์ที่ดำเนินการโดยปราศจากการแสวงผลกำไร เพื่อติดตามเรื่องของการละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพของการแสดงออกในประเทศไทย จากจำนวน 68 คดีที่ประชาชนถูกตั้งข้อกล่าวหานั้น 21 คดีมีความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่โพสต์อยู่บนหน้า Facebook รวมไปถึง เหตุการณ์ทั้งหมด 5 ครั้งซึ่งผู้กระทำการถูกจับได้ เนื่องจากว่า พวกเขาไปพูดคุยหรือแชทกับเพื่อนๆ ในระบบ Messenger
การปราบปรามในโลกออนไลน์นั้น เป็นการเปิดนำให้กลุ่มแฮกเกอร์ต่างๆ อย่างเช่นกลุ่ม Blink Hacker เข้ามาต่อสู้กับรัฐบาลของประเทศไทย
ท่านสามารถติดตามชมวิดีโอ หัวข้อ “สงครามไซเบอร์ของประเทศไทย” ซึ่งเป็นตอนหนึ่งของซีรี่ย์ชื่อว่า Blackout ของสำนักข่าว VICE ได้จากลิ้งค์ข้างบน
ตั้งแต่หลังการรัฐประหารปี พ.ศ. 2557 เป็นต้นมา การพิจารณาคดีเกี่ยวกับคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพทั้งหมดกระทำกันที่ศาลทหารและปิดกั้นไม่อนุญาตให้ประชาชนเข้าไปฟังได้ ส่วนทนายฝ่ายจำเลยเองก็ไม่สามารถเข้าถึงหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการฟ้องร้องได้เช่นกัน มันเป็นเรื่องที่แปลกอย่างหนึ่งในการริเริ่มตอบรับต่อความกดดันของทางสาธารณะ ที่ทางรัฐบาลไทยประกาศไว้เมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า จะหยุดการพิจารณาคดีของพลเรือนในศาลทหาร แต่คุณ Blum-Dumontet กล่าวว่า เธอได้รับข้อมูลว่า แท้ที่จริงแล้ว มันเป็นแค่การหลีกเลี่ยงเปลี่ยนจำนวนคดีต่างๆ ทั้งหมดที่นำขึ้นมาฟ้องร้องเท่านั้นเอง ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเลย เนื่องจากว่า มันมีคดีอื่นๆ ค้างอยู่ในศาลทหารเป็นจำนวนมากแล้ว
นอกไปจากเรื่องของหน่วยงานลูกเสือไซเบอร์แล้ว ยังมีกลุ่มพลเรือนต่างๆ อีกหลายกลุ่ม ซึ่งอุทิศเวลาด้วยการทำการลาดตระเวนอยู่ในโลกของโซเชี่ยลมีเดีย เพื่อแสวงหาหลักฐานที่ผู้คนต่างพิมพ์ต่างพูดกันอยู่โดยเฉพาะเรื่องของพระราชสันตติวงศ์ มีการใช้ชื่อที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งอย่างเช่นหน่วย “SS” เป็นต้น ซึ่งหน่วยงานนี้เป็นกลุ่มรอยัลลิสต์ขวาจัด ที่แฝงตัวทำงานอยู่ในโลกไซเบอร์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 กลุ่มนี้มีการพรรณนาตนเองอยู่ในหน้าของ Facebook ว่า จุดประสงค์ของพวกเขา คือ “การสร้างความตระหนักรับรู้ของการคอร์รัปชั่นและสร้างความกดดันเพื่อต่อสู้กับมัน และหยุดการกระทำเรื่องการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพให้หมดสิ้น”
กลุ่มอีกกลุ่มหนึ่งจากหลายๆ กลุ่ม มีชื่อว่า องค์กรเก็บขยะแผ่นดิน ซึ่งก่อตั้งเพียงหนึ่งเดือนก่อนหน้าการรัฐประหารปี พ.ศ. 2557 ได้เตรียมการและวางแผนต่างๆ ต่อการรณรงค์ให้เกิดการระรานแบบอันธพาล (Bullying) ทั้งบนโลกออนไลน์และนอกโลกไซเบอร์ กับผู้หญิงท่านหนึ่งชื่อว่า คุณธนนันท์ บุรณศิริ ข้อมูลส่วนตัวของเธอ รวมทั้งข้อมูลที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับสามีและลูกๆ ของเธอได้ถูกเปิดเผย และมีการโพสต์อยู่บนหน้าเพจขององค์กรเก็บขยะแผ่นดิน ในท้ายที่สุด เธอก็ถูกไล่ออกจากงานของเธอไป
กลุ่มเหล่านี้ เล่นบทบาทด้วยการสร้างความคลั่งต่อความรักชาติกัน แต่คุณ Blum-Dumontet กล่าวว่า “บางครั้ง มันยังเป็นเรื่องความตึงเครียดส่วนบุคคลด้วย” ซึ่งส่งผลให้ข้อมูลเหล่านี้ ถูกแชร์ออกมาให้ทางการได้ทราบกัน เธอกล่าวถึงคดีหนึ่งซึ่งเป็นการโต้เถียงระหว่างเพื่อนสองคน ซึ่งต่อมา นำไปสู่การแจ้งเบาะแสโดยเพื่อนคนแรกให้ทราบว่า เพื่อนอีกคนหนึ่งทำการโพสต์อะไรบ้างในโลกโชเชี่ยลมีเดีย ทั้งๆ ที่เกิดขึ้นมาเมื่อหลายปีก่อนหน้าแล้ว
ถึงแม้ว่าองค์กรของเธอได้ทำการเรียกร้องให้ทางฝ่ายรัฐบาลไทย เลิกล้มความคิดริเริ่มของโครงการลูกเสือไซเบอร์ คุณ Blum-Dumontet ก็ไม่ได้หวังอะไรเท่าไรว่า มันจะยุติลงในเร็วๆ นี้
“รัฐบาลเผด็จการทหารไทย ได้แสดงการตอบรับต่อความกดดันจากทางนานาชาติอย่างน้อยมากๆ “ เธอกล่าว “ดิฉันไม่ได้หวังอะไรมากนักว่า มันจะมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องเหล่านี้กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เนื่องจากว่า การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเป็นเรื่องประเด็นพิเศษและพิเศษสำหรับเฉพาะประเทศไทยเท่านั้น”
---------------
ความคิดเห็นของผู้แปล:
ท่านผู้อ่านก็ควรจะต้องระวังเช่นกันว่า ลูกหลานของท่าน ไปทำงานให้กับพวกทหารเหล่านี้หรือยัง หรือ ทำเมื่อไร ดูเหมือนกับว่า ทางฝ่ายกองทัพจะพยายามสอนให้เด็กๆ เหล่านี้ ได้ดิบได้ดี จากการ “ฟ้อง” หรือ “เหยียบคนอื่น” เพื่อตนเองจะได้ดีเด่นขึ้นมาอย่างนั้นหรือ? หรือจะอ้างว่า เป็น “หน้าที่” ต่อการปกป้องประเทศชาติ
มันมีเส้นบางๆ คั่นอยู่ ระหว่างคำว่า “เสรีภาพกับการแสดงความคิดเห็น” กับ เรื่องของ “ความมั่นคงภายในประเทศ” และ การใช้เสรีภาพในเรื่องเหล่านี้ไปกระทบกับความมั่นคงของประเทศจริง มันก็ดูเหมือนกับว่า ความมั่นคงของประเทศอยู่ในสภาวะที่บอบบางเป็นอย่างยิ่ง
เมื่อมีการ “ว่าจ้าง” เด็กๆ ให้กลายเป็น “ลูกเสือไซเบอร์” กัน ท่านก็ต้องดูด้วยว่า เรากำลังจะกลับไปอยู่ในสมัยสงครามโลกหรือเปล่า ซึ่งหน่วย “SS” ทำการว่าจ้าง “ยุวชนฮิตเลอร์” (Hitler Youth) เพื่อรายงานข่าวคราวและเรื่องต่างๆ ของชาวยิว ให้ทางพวกเกสตาโปได้ทราบกัน
เมื่อใช้ระบบเดียวกันกับ “ยุวชนฮิตเลอร์” เรากำลังดำเนินชีวิตอยู่ในโลกด้วยการถอยหลังกลับไปมากกว่า 70 ปี และเราจะเห็นได้อย่างง่ายๆ ว่า สิทธิของการแสดงความคิดเห็นของท่านจะค่อยๆ หายไป และมันจะถูกมาแทนที่ด้วยการอ้างเรื่องของ “ความมั่นคงภายใน” อยู่เสมอๆ
ที่สำคัญที่สุดคือ กำลังเกิดเหตุการณ์ “ล้างสมอง” ให้กับเด็กๆ เหล่านี้ และสิ่งที่น่ากังวลคือ สังคมของคนรุ่นใหม่ที่จะเจริญเติบโตในอนาคต ก็คือ สังคมที่ถูก “ล้างสมอง” กันไปอย่างเรียบร้อยแล้ว
หากไม่เชื่อ ก็จงเฝ้าดูต่อไปก็แล้วกัน
Happy Monday ค่ะ