explicitClick to confirm you are 18+

ข่าวแปล: นักศึกษาเสี่ยงถูกไล่ออกจากมหาวิทยาลัยเนื่องจากวิจารณ์รัฐบาลจีน

bkkrickleeMay 25, 2020, 11:01:34 AM
thumb_up93thumb_downmore_vert

ต้นฉบับ: https://www.wsj.com/articles/australian-student-critical-of-china-threatened-with-expulsion-prosecution-11589896253

ผู้เขียน: Rachel Pannett (ราเชล แพนเน็ต)

ซิดนีย์: มหาวิทยาลัยในอสสเตรเลีย ขู่ที่จะไล่นักศึกษาออกและดำเนินทางการกฎหมาย ต่อนักศึกษาสำหรับการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลกรุงปักกิ่ง ซึ่งได้เปิดเผยอิทธิพลของพรรคคอมมิวนิสต์จีนเหนือการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย

ดรูว์ พาวลู (Drew Pavlou) นักศึกษาปริญญาตรี ภาควิชาปรัชญา อายุ 20 ปี จากมหาวิทยาลัยควีนแลนด์ เดินออกมาไม่ร่วมสังฆกรรมหลังจาก การโดนสอบสวนทางวินัยทางมหาวิทยาลัยเป็นเวลา 45 นาที ในวันพุธที่ 20 พฤษภาคม 2020  โดยเขากล่าวว่าเขาไม่เชื่อมั่นต่อ "มาตรฐานทั่วไปของกระบวนการยุติธรรม" ของทางมหาวิทยาลัย โดยดรูว์ถูกตั้งข้อหาว่าละเมิดนโยบายของมหาวิทยาลัย ข่มขู่พนักงานและนักศึกษาคนอื่น และทำให้มหาวิทยาลัยเสื่อมเสียชื่อเสียง โดยกระบวนการสอบสวนได้ดำเนินต่อไปและตัดสินว่าดรูว์ผิดเนื่องจากไม่แสดงตนต่อหน้าคณะกรรมการสอบสวน

นายดรูว์ พาวลู ซึ่งได้รับการปรึกษาทางกฏหมายจากทนายสิทธิมนุษยชน ได้ตกเป็นจุดสนใจต่อฝ่ายระเบียบของมหาวิทยาลัยจากการเข้าร่วมการจัดกิจกรรมในมหาวิทยาลัย และการแสดงความคิดเห็นทางสื่อสังคมออนไลด์ ซึ่งบางโพสนั้นล้อเลียนรัฐบาลจีน

ดรูว์กล่าวอีกว่า "พวกเขาเรียนรู้จากเจ้านายของเขาในกรุงปักกิ่งเป็นอย่างดี" และ "ผมจะไม่เคารพต่อศาลเตี้ย"

กรณีของดรูว์ พาวลูได้กลายเป็นประเด็นสายล่อฟ้า ต่อข้อถกเถียงในเรื่องของอิทธิพลของรัฐบาลจีนภายในประเทศออสเตรเลีย เนื่องจากมหาวิทยาลัยหลายแห่งได้พึ่งพารายได้จากค่าเทอมของนักศึกษาจากประเทศจีน โดยผู้วิจารณ์ได้กล่าวว่าการพึ่งพาในส่วนนี้ได้เป็นการเพิ่มอำนาจอย่างไม่เป็นทางการ (soft power) ของรัฐบาลกรุงปักกิ่งต่อคณะบริหารของมหาวิทยาลัยเพื่อดึงดูดนักศึกษาจีน

ศาสตราจารย์คลีฟ แฮมมิลตัน (Clive Hamilton) จากมหาวิทยาลัย ชาร์ลส์ สจ๊วต ประจำกรุงแคนเบอร์รา ผู้เขียนหนังสือ “Silent Invasion” ซึ่งเกี่ยวกับการขยายอิทธิพลของพรรคคอมมิวนิสต์จีนเหนือประเทศออสเตรเลีย กล่าวว่า

"ผมคิดว่า ฝ่ายบริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยควีนแลนด์ ได้ถูกเลี้ยงดูเป็นอย่างดีจากตัวแทนของรัฐบาลจีน เป็นปีๆ และพวกเขาเชื่อว่าภารกิจที่สำคัญที่สุดของเขาคือการทำให้รัฐบาลปักกิ่งนั้นพึงพอใจ พวกเขาได้หลงลืมไปแล้วว่ามหาวิทยาลัยในประเทศศิวิไลด์ ควรมีจุดยืนอย่างไร" 

"ระดับของการติดต่อระหว่างพรรคกับมหาวิทยาลัยนั้นดูเป็นการติดต่ออย่างลับๆ และไม่เป็นทางการ"

เจ้าหน้าที่ของทางมหาวิทยาลัยได้ปฎิเสธการให้ท้ายทางวิชาการต่อรัฐบาลจีน จุดศูนย์กลางของข้อโต้แย้ง คือ สถาบันขงจื่อ (ฮั่นป้าน) 13 แห่งในมหาวิทยาลัยของออสเตรเลีย ซึ่งสถาบันเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์จีน โดยมีจุดหมายเริ่มต้นในการสอนภาษาจีน ซึ่งการปฎิบัติการต่างๆ ของสถาบันนี้กำลังถูกตรวจสอบ โดยสำนักอัยการสูงสุด ว่าเป็นแหล่งเผยแพร่อิทธิพลของรัฐต่างชาติในประเทศหรือไม่ 


ดรูว์ พาวลู คนที่สองจากด้านซ้าย ประท้วงอิทธิพลของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ในมหาวิทยาลัยควีนแลนด์ ในเดือนกรกฎาคม ปี 2019  PHOTO: DAVE HUNT/EPA/SHUTTERSTOCK

หลายมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาได้ประกาศปิดสถาบันขงจื้อ เนื่องจากข้อกล่าวหาในเรื่องของการเซนเซอร์เนื่องหาที่อาจทำให้รัฐบาลปักกิ่งไม่พอใจ และถูกตรวจสอบจากคณะกรรมการสมาชิกวุฒิสภา ต่อการปฏิบัติการต่างๆ 

ปีเตอร์ วาคฮีท (Peter Varghese) อธิการบดีมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ และอดีตเอกอัครราชทูต กล่าวว่าสถาบันขงจื้อถูกกล่าวหาว่าเป็น"ม้าโทรจัน" และได้เขียนในคอลัมน์แสดงความเห็นว่า "ออสเตรเลียควรรับรู้ว่าจีนนั้นจะผงาดขึ้นเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจและการวิจัย แม้ว่าระบอบการปกครองและคุณค่าของเรานั้นต่างกัน แต่การบอยคอตจีนนั้นไม่ใช่ทางเลือกที่สมเหตุสมผล"

มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ได้เซ็นข้อตกลงระยะเวลา 5 ปีกับสถาบันขงจื้อในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา โดยมีข้อตกลงว่า หลักสูตรต่างๆ ที่เสนอจะไม่เป็นหลักสูตรที่มีหน่วยกิตในหลักสูตรการศึกษา และบุคลากรทุกคนจะต้องทำการภายใต้กฎหมายของออสเตรเลีย

โดยเอกสารลับข้ออ้างต่างๆของมหาวิทยาลัยที่ได้ใช้เพื่อการพิจารณาสถานภาพนักศึกษาของดรูส์ พาวลู จำนวน 186 หน้านั้นได้  ถูกตรวจสอบโดยทีมงานจาก The Wall Street Journal เอกสารนั้นได้ระบุว่า พาวลูได้ทำให้มหาวิทยาลัยนั้นเสื่อมเสียชื่อเสียง เมื่อพาเวลได้ใส่ชุดป้องกันเชื้อโรค หน้าสถาบันขงจื้อ ในกลางเดือนมีนาคม และโพสรูปภาพลงในเฟสบุ๊ค เรียกสถาบันขงจื้อว่า "ความเสี่ยงทางชีวภาพ" โดยพาวลูได้วิจารณ์การปฎิบัติของรัฐบาลจีนต่อกลุ่มชาติพันธุ์อุยกูร์ โดยมหาวิทยาลัยได้รับการแจ้งจากสถาบันขงจื่อว่าพฤติกรรมทางออนไลน์ของพาเวลนั้น อาจจะ "อาจก่อให้เกิดความแตกแยก การล่วงละเมิด หรือการรังแก"

ในอาทิตย์ที่แล้วทางทนายของทางมหาวิทยาลัยได้ข่มขู่ดำเนินการทางคดีต่อพาวลูในข้อหาแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม เนื่องจากนายดรูส์ พาวลู นั้นได้นำเอกสารภายในของทางมหาวิทยาลัยนั้นไปฟ้องร้องปฏิปักษ์ ต่อเจ้าหน้าที่ระดับสูงของทางการจีนในรัฐควีนส์แลนด์ ในระบบกฎหมายของออสเตรเลียนั้นเอกสารเหล่านั้นไม่ใช่เอกสารสาธารณะ และทนายของทางมหาวิทยาลัยนั้นกล่าวหาว่าพาวลูได้ใช้หลักฐานอีเมลภายใน ในการประกอบการสอบสวนทางวินัย

"นี่เป็นกรณีที่เหลือเชื่ออย่างมากที่มหาวิทยาลัยรัฐของออสเตรเลียจะขู่นักศึกษาที่วิจารณ์พรรคคอมมิวนิสต์จีนด้วยโทษจำคุก" พาวลู กล่าวในระหว่างการสัมภาษณ์ "ผมคิดว่าพวกเขาต้องการข่มขู่เพื่อให้ผมยอมจำนน"

ในการฟ้องร้องของพาวลูนั้น เขาได้แสวงหาคำสั่งห้ามต่อ ฉู จี้กงสุลใหญ่ของจีนประจำเมืองบริสเบน โดยกล่าวหาว่ากงสุลใหญ่นั้นได้ปลุกระดมให้เกิดคำขู่หมายเอาชีวิตต่อตัวเขา โดยการประนามนักศึกษาที่เข้าร่วมการจัดกิจกรรมสนับสนุน กลุ่มผู้ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกง ในวันที่ 24 กรกฏาคม 2019 โดยเรียกเขาว่า "พวกนักเคลื่อนไหวต่อต้านจีน" โดยพาวลูได้กล่าวว่าเขาได้ถูกทำร้ายร่างกายจากกลุ่มผู้สนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์ในวันนั้น

สถานกงสุลประจำเมืองแคนเบอรา ไม่ตอบกลับต่อการร้องขอแสดงความคิดเห็น

ทางมหาวิทยาลัยได้ปฎิเสธต่อการขอความเห็นต่อกรณีของพาวลู แถลงการณ์ของทางมหาวิทยาลัยทางเว็บไซต์ในวันที่ 9 พฤษภาคม ที่ผ่านมากล่าวว่า "ปฏิเสธต่อข้อกล่าวหาที่ไม่มีมูล และไม่มีแรงจูงใจทางการเมืองใดๆ" อยู่เบื้องหลังการสอบสวนทางวินัย

"การสอบสวนทางวินัยนั้นไม่ได้มีเป้าหมายในการควบคุมจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของพนักงานและนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัย" แถลงการณ์ยังกล่าวอีกว่า "มหาวิทยาลัยเป็นผู้ปกป้องอย่างจริงจังต่อเสรีภาพในการแสดงความเห็น"

ออสเตรเลียและชาติตะวันตกอื่นๆ ได้ตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะเสียเงินจำนวนหลายร้อยล้านดอลลาห์ จากเงินค่าเทอมของชาวจีน ในการสนับสนุนงานวิจัย ถ้ามหาวิทยาลัยเหล่านี้รักษาระยะห่างจากประเทศจีน ความเสี่ยงเหล่านี้ถูกเปิดเผยโดยการระบาดของไวรัส Covid-19 มหาวิทยาลัยในออสเตรเลียในส่วนภาคอุตสาหกรรม ได้ประเมินความเสียหายอยู่ที่ 3 หมื่นล้านดอลลาห์ ในปี 2020  หลังจากที่การกำจัดการเดินทางระหว่างประเทศได้ทำให้นักเรียนหลายพันคนไม่สามารถเดินทางมาเรียนได้

มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์นั้นเป็นมหาวิทยาลัยที่มีรายได้จากนักศึกษานานาชาติสูงที่สุดเป็นอันดับ 5 ของออสเตรเลีย มหาวิทยาลัยได้รายงานว่า นักศึกษาจำนวน 18,000 คน จาก 53,000 คนนั้นเป็นนักศึกษาต่างชาติ โดยครึ่งหนึ่งนั้นมาจากประเทศจีน ในปี 2018 นักศึกษาต่างชาติที่จ่ายค่าเทอมสูงกว่า ได้จ่ายค่าเทอมถึง 400 ล้านดอลลาห์ ซึ่งมากกว่านักศึกษาในระดับปริญญาตรีชาวออสเตรเลีย 

มหาวิทยาลัยได้ทำให้รัฐบาลในกรุงเคนเบอรา นักวิชาการ และผู้ที่สงสัยต่อเจตนาของจีนถึงกับลักคิ้ว เมื่อได้มีการแต่งตั้งกงสุลใหญ่ ฉู จี้ เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ไม่ปกติสำหรับข้าราชการของประเทศอื่น มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ได้ให้การปฏิเสธว่าความเกี่ยวข้องกับรัฐบาลจีนได้กัดกร่อนเสรีภาพทางวิชาการ

ในสุนทรพจน์ในวันอังคารที่ผ่านมาวุฒิสมาชิกฝ่ายอนุรักษ์นิยมเจมส์ ปีเตอร์สัน ได้กล่าวว่า ผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตได้มอบเอกสารชี้แจงค่าตอบแทน โดยแสดงให้เห็นว่า ศาสตราจารย์ปีเตอร์ ฮาจน์ (Peter Høj) รองอธิการบดี ได้รับค่าตอบแทนโบนัสสูงถึง 130,000 ดอลลาห์ จากการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างมหาวิทยาลัยและทางการจีน ก่อนที่การระบาดของเชื้อ Covid-19 จะเกิดขึ้นนั้นทางมหาวิทยาลัยได้ประเมินว่า นักศึกษานานาชาติกว่า 60% จะมาจากจีนในฤดูใบไม้ร่วง

วุฒิสมาชิกเจมส์ ปีเตอร์สัน กล่าวต่อรัฐสภาว่า "นอกเหนือจากความสำเร็จในการจ่ายโบนัสจากเงินค่าเทอมของนักศึกษาและภาษีของประชาชน โอกาสที่นักศึกษากว่า 63% ของนักศึกษานานาชาติจะมาจากประเทศเดียวนั้นควรเป็นเรื่องที่ต้องระวัง" วุฒิสมาชิกเจมส์ ปีเตอร์สันเป็นนักการเมืองคนหนึ่งที่ถูกยกเลิกกำหนดการในการเยือนประเทศจีน เนื่องจากความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นระหว่างรัฐบาลกรุงแคนเบอร์ราและรัฐบาลกรุงปักกิ่ง

ปีเตอร์ วาคฮีท (Peter Varghese) อธิการบดีมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ได้กล่าวหาวุฒิสมาชิกเจมส์ ปีเตอร์สันว่า เลือกนำเสนอข้อมูลจากเอกสาร และกล่าวอีกว่า "เป็นการโจมตีรองอธิการบดีอย่างไม่เป็นธรรมภายใต้เอกสิทธิ์ของสมาชิกวุฒิสภา" โดยให้เหตุผลว่าความเกี่ยวข้องเดียวของรองอธิการบดีคือการวิจัยความสัมพันธ์กับประเทศจีน และการรับนักศึกษาจีนเข้าศึกษา