ต้นฉบับ: https://foreignpolicy.com/2020/05/22/china-superpower-two-paths-global-domination-cold-war/
และแต่ละแผนนั้นใช้การได้ไม่ว่ารัฐบาลกรุงวอชิงตันจะรับรู้แผนของจีนหรือไม่
ผู้เขียน: ฮัล แบร์น (Hal Brands) และ เจค ซัลลิแวน (Jake Sullivan)
จีนภายใต้การปกครองของสี จิ้งผิงนั้น ได้แสดงถึงความต้องการเป็นประเทศมหาอำนาจในเวทีโลก ในไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผู้สังเกตการณ์ชาวอเมริกันหลายคนนั้นได้หวังว่าจีนจะเปลี่ยนแปลงตนเองเป็นผู้สนับสนุนระเบียบโลกเสรีนิยม หรือ อย่างมากก็เป็นเพียงอุปสรรคสำหรับอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาในน่านน้ำมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก แนวคิดที่เป็นที่ยอมรับในกลุ่มคนส่วนมากคือ จีนจะพยายามในการขยายอำนาจในภูมิภาค และยังห่างไกลสำหรับการขยายอำนาจในระดับโลก อย่างไรก็ตามในขณะนี้ได้มีสัญญาณสำคัญที่แสดงให้เห็นว่าจีน กำลังเตรียมตัวที่จะท้าทายอำนาจระดับโลกของสหรัฐอเมริกา
เกี่ยวกับผู้เขียน
ฮัล แบร์น (Hal Brands) เป็นศาสตราจารย์พิศิษฐ์ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศประจำศูนย์ เฮนรี เอ คิสซิงเจอร์ ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศระดับสูง มหาวิทยาลัยจอห์น ฮอบกิ้น
เจค ซัลลิแวน (Jake Sullivan) เป็นนักวิชาการอวุโสไม่ประจำการ จากสถาบัน Carnegie Endowment for International Peace เขาเคยเป็นรองผู้ช่วยของประธานาธิปดีบารัค โอบามา และ ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของรองประธานาธฺปดี โจ ไบเดน ในปี 2013 ถึง 2014 และผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายประจำกระทรวงการต่างประเทศ ในระหว่างปี 2011 ถึง 2013
จีนได้มีโครงการในการต่อเรือรบซึ่งผลิตเรือในปี 2014-2018 มากกว่า จำนวนเรือที่ เยอรมันนี, อินเดีย, สเปน และสหราชอาณาจักร รวมกัน จีนเองได้มีการลงทุนด้านอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ซึ่งจะเป็นจุดตัดสินอำนาจทางเศรษฐกิจและทางทหารในอนาคต มีความเคลื่อนไหวในการควบคุมเส้นทางที่สำคัญในทะเลนอกชายฝั่งประเทศจีน มีการพยายามตั้งฐานทัพในการข่นส่งกำลังอย่างเป็นระบบ และมีการพยายามในการเปลี่ยนบารมีทางเศรษฐกิจเป็นการบังคับทางเศรษฐกิจต่อประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและประเทศอื่นๆ
ไม่นับข้อเท็จจริงในจุดหนึ่งที่ประเทศที่เมื่อครั้งหนึ่งอำพรางความมักใหญ่ไฝ่สูงของตนเองอย่างลับๆ ไม่กลัวที่จะปิดบังมันอีกต่อไป ประธานาธิปดีสี จิ้นผิง ได้ประกาศว่าจีนได้เข้าสู่ “ยุคใหม่” และจะต้อง “เป็นจุดศูนย์กลางของโลก” สองปีต่อมาประธานาธิปดีสี จิ้นผิงได้ใช้คติ “เดินทัพไกล 25,000 ลี้ครั้งใหม่” เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ที่แย่ลงกับรัฐบาลกรุงวอชิงตัน ดีซี ยิ่งกว่านั้นความน่าตกใจทางยุทธศาสตร์ที่กำเนิดในจีน ได้กลายเป็นตัวอย่างที่แสดงถึงความมุ่งหวังทางภูมิรัฐศาสตร์ของจีน เราได้เห็นการที่จีนพยายามเป็นวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัส COVID19 ซึ่งเกิดการแพร่ระบาดอย่างหนักจากระบอบการปกครองของจีนเป็นโอกาสในการแพร่ขยายอิทธิพลของจีนและโฆษณาระบอบการปกครองของจีนในประเทศต่างๆ
เรายังไม่สามารถรู้ความตั้งใจที่แท้จริงของจีนได้ เนื่องจากระบอบเผด็จการอำนาจนิยมนั้นมักปิดบังตนเอง และนั่นก็ทำให้การด่วนสรุปถึงเจตนาที่แท้จริงว่าเป็นเจตนาที่เป็นศัตรูนั้นเป็นสิ่งที่เป็นอันตราย เนื่องจากจะทำให้เรานั้นเดินไปสู้เส้นทางของการเชื่อว่าเป็นโชคชะตาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และคำพยากรณ์ที่ตอบสนองความเชื่อของตนเอง เราทั้งสองคนนั้นมีความเห็นที่แตกต่างกันในประเด็นที่ว่า ความสัมพันธ์ที่มั่นคงและคงเส้นคงวาระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกานั้นจะยังเป็นไปได้หรือไม่ แต่นั่นก็ต้องใช้ความไม่ประสีประสาโดยตั้งใจระดับหนึ่งที่จะไม่ตั้งคำถาม จีนนั้นในความเป็นจริงแล้วตั้งเป้าหมาย(หรือจะมีเป้าหมายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้) ที่จะแต่งตั้งตนเองเป็นผู้นำโลกและจีนจะใช้วิธีใดเพื่อไปถึงเป้าหมายเหล่านั้น สำหรับผู้ออกแบบนโยบายความสัมพันธ์จีนของสหรัฐอเมริกาแล้ว ไม่ว่าจะต้องการสร้างความร่วมมือหรือการเผชิญหน้า จะต้องเจอปัญหาเหล่านี้อย่างยากจะหลีกเลี่ยงได้
ถ้าจีนต้องการที่จะเป็นมหาอำนาจ อาจจะมี 2 วิถีทางที่จีนจะใช้
วิธีแรกนั้นเป็นวิธีที่นักยุทธศาสตร์ชาวอเมริกันหลายคนได้คาดการณ์ล่วงหน้า (ถึงจุดที่พวกเขาสามารถคาดการณ์ความทะเยอทะยานของจีนได้) เส้นทางนี้ผ่านภูมิภาคของจีนโดยเฉพาะแปซิฟิกตะวันตก โดยจีนจะมุ่งสร้างอำนาจในภูมิภาคเพื่อที่จะดันตนเองขึ้นเป็นมหาอำนาจของโลก ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับเส้นทางที่สหรัฐอเมริกานั้นเคยเดินมาก่อน วิธีที่สองนั้นมีความแตกต่างกันมากเพราะวิธีนี้ดูสวนทางกับประวัติศาสตร์และกฎแห่งภูมิรัฐศาสตร์ วิธีนี้ไม่ได้เน้นการสร้างอำนาจที่ไม่มีใครสามารถแตะต้องได้ในภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตก แต่สร้างความได้เปรียบต่อระบบพันธมิตรของสหรัฐอเมริกา และสร้างอำนาจของตนเองในภูมิภาคเป้าหมายโดยการพัฒนาเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และ อำนาจทางการเมืองในระดับโลก
คำถามว่าเส้นทางใดที่จีนจะเลือกเดินนั้น จะเป็นทางเลือกนี่ลำบากต่อการตัดสินใจของนักยุทธศาสตร์ของรัฐบาลกรุงปักกิ่งว่าควรลงทุนในจุดไหน และความขัดแย้งใดที่จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงในอนาคต และคำถามว่าจีนจะเลือกเส้นทางไหนนั้นจะกลายเป็นนัยยะสำคัญต่อนักยุทธศาสตร์ชาวอเมริกัน และท้ายที่สุดแล้วประชากรโลก
การคาดการณ์ที่เป็นที่ยอมรับส่วนมากนั้นมองว่า จีนจะเริ่มจากการเป็นมหาอำนาจในภูมิภาค นี่ไม่ได้หมายความว่าจีนนั้นจะบุกยึดประเทศเพื่อนบ้านของตนเอง (ยกเว้นประเทศที่เป็นไปได้คือไต้หวัน) เหมือนที่สหภาพโซเวียตนั้นทำในช่วงสงครามเย็น แต่หมายถึงการที่จีนนั้นจะกลายเป็นผู้เล่นหลักในแปซิฟิกตะวันตก โดยเริ่มขยายอำนาจจากกลุ่มประเทศหมู่เกาะ (ซึ่งไล่ตั้งแต่ญี่ปุ่น ไต้หวัน และฟิลิปปินต์) และขยายอำนาจไปประเทศที่เหลือ โดยจีนนั้นจะต้องได้อำนาจวีโต้ ในด้านความมั่นคงและทางเลือกทางเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้าน จีนนั้นจะต้องกดดันและบั่นทอนพันธมิตรของสหรัฐอเมริกาและผลักดันให้กองเรือของสหรัฐอเมริกานั้นห่างจากชายฝั่งของตนเองมากขึ้นและมากขึ้น ถ้าจีนไม่สามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้ จีนจะไม่สามารถสร้างฐานกำลังทางอำนาจของตนเองที่จะก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจระดับโลกได้ เนื่องจากจีนจะประสบความท้าทายทางความมั่นคงทางทะเลตลอดเวลา จีนจะต้องเสียงบประมาณและกำลังทางทหารเพื่อการป้องกันแนวชายฝั่งแทนที่จะเป็นการโจมตี และตราบใดที่รัฐบาลกรุงวอชิงตัน ทำรุงรักษากำลังทางทะเลในประเทศหมู่เกาะ อำนาจในระดับภูมิภาค จากประเทศเวียดนาม ไต้หวัน ถึงญี่ปุ่น จะพยายามในการป้องกันการขึ้นสู่อำนาจของจีนมากกว่าการให้ความร่วมมือ พูดง่ายๆก็คือจีนไม่สามารถขึ้นเป็นมหาอำนาจที่แท้จริงในระดับโลกได้ถ้าถูกล้อมด้วยชาติพันธมิตรด้านความมั่นคงต่อสหรัฐอเมริกา ฐานทัพต่างๆ และหน้าด่านด้านความมั่นคงของมหาอำนาจตรงข้าม
เหตุผลหนึ่งที่เส้นทางนี้สามารถเป็นไปได้สำหรับสหรัฐอเมริกาเนื่องจากเป็นเส้นทางที่คล้ายกับการที่อเมริกานั้นขึ้นเป็นมหาอำนาจ จากช่วงต้นของสาธารณะรัฐ เจ้าหน้าที่รัฐของสหรัฐอเมริกานั้นเข้าใจดีว่า เป็นไปได้ยากที่รัฐบาลวอชิงตัน จะเป็นผู้เล่นหลักในเวทีโลกได้ถ้าประเทศนั้นไม่สามารถสร้างความแข็งแกร่งทางยุทธศาสตร์ภายในภูมิภาคอเมริกาเหนือ ก่อนที่จะขยายไปสู่โลกตะวันตก นี่เป็นเหตุผลทางยุทธศาตร์ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายต่างประเทศนับทศวรรษในการขับไล่ชาติคู่แข่งในยุโรปออกจากพื้นที่ผลประโยชน์ของอเมริกัน นับตั้งแต่หลักการมอนโรในทศวรรษที่ 1820s จนถึงการล่มสลายของอำนาจของเสปน ในน่านน้ำแคริบเบียนในสงครามปี 1898 นโยบายบางอย่างนั้นเป็นความพยายามในระดับร้อยปี บางนโยบายมีความกำกวมทางศีลธรรมจนถึงมีปัญหา เพื่อที่จะป้องกันชาติยุโรปจากการมีอำนาจในภาคพื้นทวีป ตั้งแต่นโยบาย “ควันหลงของรูสเวลด์” ในปี 1904 จนถึง สงครามลับกับกลุ่มซาปานิสต้าซึ่งเป็นพันธมิตรของโซเวียตและคิวบาของประธานาธิปดีเรแกนในประเทศนิคารากัวในช่วงปี 1980s
คณะกรรมการของทั้งสองฝ่ายการเมืองของอเมริกาแสดงอย่างชัดเจนว่าในช่วงของสงครามเย็นนั้น อำนาจระดับโลกของสหรัฐอเมริกานั้นมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับความเป็นใหญ่ของสหรัฐในภูมิภาค คณะกรรมการได้เขียนบทนำในรายงานว่า “ความสามารถที่จะรักษาสมดุลของอำนาจในระดับโลกที่ง่ายที่สุดโดยธรรมชาติแล้วมาจากความมั่นคงของชายแดน” ถ้าสหรัฐอเมริกาต้อง “ป้องกันตนเองจากภัยต่อความมั่นคงต่างๆ ในแนวชายแดน” จะเกิดการ “จำเป็นต้องถือว่าการป้องกันชายแดนนันจะกลายเป็นภาระอย่างถาวร...และผลที่จะตามมานั้นจะทำให้สหรัฐอเมริกานั้นจะต้องลดบทบาทที่อื่นในโลกอย่างเป็นนัยสำคัญ”
มีสัญญะอย่างสำคัญที่จีนนั้นได้ใช้แนวคิดเดียวกัน นโยบายต่างๆของจีนนั้นดูเหมือนจะมีการคำนวนมาอย่างดีสำหรับการเป็นมหาอำนาจในภูมิภาค รัฐบาลปักกิ่งได้ลงทุนอย่างมากสำหรับระบบการป้องกันทางอากาศระดับสูง เรือดำน้ำที่เงียบสงบ จรวดต่อต้านเรือรบ การป้องกันการเข้าถึง พื้นที่หวงห้าม มากพอที่จะทำให้กองเรือของสหรัฐอเมริกาและเครื่องบินรบจากแนวชายฝั่งของจีน ซึ่งจะทำให้จีนนั้นสามารถขยายอิทธิพลในภูมิภาค รัฐบาลปักกิ่งนั้นสนใจที่จะทำให้ทะเลจีนใต้ และ ทะเลจีนตะวันตกเป็นเพียงแม่น้ำของจีนแผ่นดินใหญ่ โดยเหตุผลลึกๆนั้นมีความคล้ายคลึงกับการสหรัฐอเมริกา นั้นตั้งใจที่จะขับไล่ขู่แข่งทางอำนาจออกจากทะเลแคริบเบียน
เช่นเดียวกันที่จีนเองนั้นก็ได้ใช้ ส่วนผสมของ การชักนำ, การบังคับ และการบิดเบือนทางการเมือง เพื่อที่จะทำบั่นทอนความสัมพันธ์ทางทหารระหว่างสหรัฐอเมริกากับชาติพันธมิตรทางทหารและชาติที่เป็นคู่สัญญา เจ้าหน้าที่ของทางการจีนได้โปรโมตแนวคิด “เอเชียเพื่อคนเอเชีย” ซึ่งเป็นแนวคิดอย่างกว้างๆว่า ภูมิภาคนั้นเอเชียนั้นจะต้องจัดการตนเองโดยไม่เกี่ยวข้องกับสหรัฐอเมริกา เมื่อประธานาธิปดี สี ได้แถลงนโยบายแนวคิด “โมเดลใหม่สำหรับการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหลัก” แกนกลางของนโยบายนั้นคือจีนและสหรัฐอเมริกานั้นจะไปด้วยกันได้ถ้าแต่ละฝ่ายจำกัดอำนาจของตนอยู่เฉพาะในฝากมหาสมุทรแปซิฟิกของตน
มันดูเหมือนว่าไม่มีทางที่จีนจะยอมรับสถานะของสหรัฐอเมริกาในฐานะมหาอำนาจโลกทางทะเลอย่างถาวร แต่ก็เป็นไปได้ที่จีนจะมองว่าการขึ้นสู่สถานะมหาอำนาจของตนนั้นจะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วงชิงความได้เปรียบของตนเองในภูมิภาคพื้นแปซิฟิกตะวันตก โดยวิถีทางเศรษฐกิจและอำนาจทางการทูตแทนที่จะเป็นการกดดันและเผชิญหน้าด้วยอำนาจทางการทหาร
ท้ายที่สุดแล้ว กองกำลังปลดแอกประชาชนของจีน (People’s Liberation Army: PLA) กำลังสร้างอำนาจทางทหารอย่างเปิดเผย แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการบุกยึดไต้หวัน ซึ่งการพัฒนาในจุดนี้สามารถถอนรากถอนโคนเสถียรภาพทางอำนาจและทำให้สถานะของสหรัฐอเมริกาถูกตั้งคำถามในชั่วข้ามคืน นักวิเคราะห์ชาวอเมริกันนั้นหลายคนคิดว่า สงครามระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาในช่องแคบไต้หวันนั้นจะเกิดขึ้นไม่วันนี้ก็วันพรุ่ง โดยนโยบายต่างๆเหล่านี้แสดงให้เห็นถึง ความไม่มั่นใจเนื่องจากความใกล้ชิดทางกลยุทธ์กับจีน และแน่นอนว่า ทั้งหมดนี้สอดคล้องกับเป้าหมายที่แคบลงของอำนาจในระดับภูมิภาค แต่ก็สอดคล้องกับสิ่งที่เราคาดการณ์นั่นคือจีนพยายามเลียนแบบเส้นทางของสหรัฐอเมริกาในการเป็นมหาอำนาจระดับโลก
และยังมีหลายเหตุผลที่น่าสงสัยว่าจีนจะเลือกทางเดินนี้หรือไม่ หรือในความเป็นจริงแล้วจีนจะแสวงหาสถานะมหาอำนาจระดับโลกหรือเปล่า ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้น มีอันตรายอย่างยิ่งในเลียนแบบจากตัวอย่างเดิม การตีขลุมว่าคู่แข่งทางอำนาจในโลกนี้จะปฏิบัติเหมือนกับเรา หรือ พยายามเลียนแบบประสบการณ์ของเราที่ผ่านมา กรณีนี้เป็นกรณีที่สำคัญ เนื่องจากปัจจุบันนั้นแสดงให้เห็นว่าเป็นการยากกว่าสำหรับรัฐบาลกรุงปักกิ่งที่จะข่มประเทศรอบนอกเหมือนที่สหรัฐอเมริกาเคยทำ
สหรัฐอเมริกาไม่เคยที่จะต้องเผชิญหน้ากับญี่ปุ่น มหาอำนาจในภูมิภาคที่เป็นพันธมิตรกับมหาอำนาจที่ใหญ่กว่า ในซีกโลกของตนเอง และการก้าวเลยประเทศกลุ่มหมู่เกาะ จีนไม่เคยต้องพบกับคู่แข่งจำนวนมาก เช่น อินเดีย, เวียดนาม, อินโดนีเซีย และอีกหลายๆประเทศ ที่เผชิญหน้ากับจีนในประเด็นของพื้นที่ทางทะเล จีนไม่เคยต้องเผชิญหน้ากับมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาซึ่งถูกมองว่าเป็นมหาอำนาจที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งในฐานะฝ่ายต้องข้ามนั้นจีนจะมองว่าประเทศเล็กๆ เหล่านี้เป็น เป็นปัญหาที่น่ารำคาญ หรือคู่แข่งขนาดเล็กที่จะต้องเอาใจเพื่อที่จะได้รับแรงสนับสนุนแทนที่จะใช้การข่มขู่ การขยายอำนาจในระดับภูมิภาคนั้น ในขณะเดียวกันก็จะเสี่ยงเบี่ยงความสนใจในการแข่งขันในภาพใหญ่ซึ่งเป็นสิ่งที่สหรัฐอเมริกานั้นมีความได้เปรียบอยู่ ซึ่งก็คือการเอาชนะการแข่งขันด้านอาวุธระดับสูง แต่ในขณะเดียวกันก็จะทำให้ประเทศเพื่อนบ้านของจีนนั้นเข้าใกล้สู่อ้อมแขนของรัฐบาลกรุงวอชิงตันมากขึ้น อย่างไรก็ตามในขณะนี้ความสามารถของรัฐบาลปักกิ่งในการข่มขู่ และเอาใจได้ส่งผลสำเร็จในการทำให้ประเทศไทย และฟิลิบปินต์ ยอมเข้าข้างในเชิงภูมิรัฐศาสตร์แต่ก็ล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่าสำหรับประเทศออสเตรเลียและญี่ปุ่น ในระยะสั้น ยังไม่มีสิ่งแน่ชัดว่ารัฐบาลกรุงปักกิ่งจะสามารถสร้างตนเองเป็นผู้นำในภูมิภาคและขึ้นสู่การเป็นมหาอำนาจโลกซึ่งนำมาสู่คำถามว่าจะมีอีกวิธีการอื่นไหมที่จีนจะใช้เพื่อการขึ้นเป็นมหาอำนาจโลก
ก่อนที่จะขึ้นเป็นมหาอำนาจระดับโลก จีนนั้นจะต้องเปลี่ยนวิธีการเข้าถึงเป้าหมายด้วยวิธีอื่นหล่ะ หนทางที่สองที่จีนสามารถทำได้นั้นจีนจะต้องมุ่งไปในทิศตะวันตกมากกว่าทิศตะวันออก นั่นคือการสร้างอำนาจทางความมั่นคงและอำนาจทางเศรษฐกิจของจีน ผ่านดินแดนยูเรเชีย จรดมหาสุมทรอินเดีย ในขณะเดียวกัน ก็สร้างศูนย์กลางอำนาจของจีนในองกรณ์ระหว่างประเทศต่างๆ ในเส้นทางนี้จีนจะต้องยอมรับอย่างเสียไม่ได้ว่าไม่สามารถย้ายอำนาจของสหรัฐอเมริกาออกจากเอเชียหรือ ดันให้กองทัพเรือสหรัฐฯ ออกจากกลุ่มประเทศหมู่เกาะ อย่างน้อยในอนาคตอันใกล้ โดยจีนนั้นจะต้อง เพิ่มความสำคัญในการสร้างกฎทางเศรษฐกิจของโลก มาตรฐานทางเทคโนโลยี และระบอบการปกครองเพื่อการสร้างความได้เปรียบและภาพลักษณ์
จุดศูนย์กลางสำคัญของเส้นทางนี้คือ อำนาจทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีนั้นมีพื้นฐานความสำคัญมากกว่า อำนาจทางทหารแบบดั้งเดิม ที่จะสามารถนำให้ตนเองขึ้นสู่สถานะมหาอำนาจระดับโลก และอำนาจเชิงกายภาพในเอเชียตะวันออกนั้นจะกลายเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นในการค้ำจุนอำนาจเหล่านั้น ด้วยแนวคิดนี้, จีนสามารถที่จะบริหารจัดการทางการทหารได้เท่าที่จำเป็นในภูมิภาคแปซิฟิกตะวันออก ร่วมด้วยกับการเรียกร้องดินแดนรอบนอก โดยหลักการปิดกั้นดินแดน ปิดกั้นการเข้าถึง และค่อยๆ ขยับกองกำลังของสหรัฐฯและชาติพันธมิตรไปในจุดที่ต้องการ โดยที่ขณะเดียวกันก็ขึ้นสู่การเป็นมหาอำนาจระดับโลกโดยอำนาจอื่นๆ
ในจุดนี้จีนก็จะอ่านความเป็นไปได้ในกระบวนการวิเคราะห์ของรัฐบาลอเมริกัน สถานะมหาอำนาจโลกของสหรัฐอเมริกานั้นเกิดขึ้นหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นปึกแผ่นหลังจากสงครามเย็น โดยมีปัจจัยสำคัญอย่างต่ำ 3 ประการคือ
1. ความสามารถในการเปลี่ยนแปลงอำนาจทางเศรษฐกิจเป็นอำนาจทางการเมือง
2. การรักษาความได้เปรียบทางนวัตกรรมเหนือกว่าประเทศอื่นๆในโลก
3. อำนาจเหนือองกรณ์ระหว่างประเทศที่สำคัญ และความสามารถในการตั้งกฎการปฏิบัติในระดับโลก
การเดินทางในทางที่สองนี้ จีนจะต้องหาทางที่จะสร้างปัจจัยทั้งสามนี้
นี่จะเป็นการขยายความทะเยอทะยาน สำหรับโครงการ Belt Road Initiative ผ่านภูมิภาคยูเรเซียและแอฟริกา ลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐานโดยให้จีนนั้นเป็นศูนย์กลางการค้าการลงทุนข้ามทวีป และองค์ประกอบทางดิจิตอลนั้น แผนการ “Digital Silk Road” เป็นแผนการจากการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์ในปี 2017 เพื่อการสร้างให้จีนเป็น “ผู้นำโลกทางไซเบอร์” โดยการใช้โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีของจีน สร้างมาตรฐานทางเทคโนโลยีในองกรณ์ระหว่างประเทศ และเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทจีน (โดยมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าจีนนั้นได้ใช้โอกาสที่ประเทศของตนเองนั้นสามารถควบคุมการระบาดของไวรัสโคโรนาเพื่อเดินหน้าจุดมุ่งหมายนี้ที่จะช่วงชิงส่วนแบ่งทางการตลาดในอุตสาหกรรมสำคัญในขณะที่คู่แข่งนั้นต้องลดการผลิตเป็นการชั่วคราว) ด้วยส่วนผสมของการลงทุนระหว่างประเทศอย่างรุนแรงและการลงทุนที่วางแผนโดยรัฐขนาดใหญ่ในด้านเทคโนโลยี จีนสามารถที่จะผุดขึ้นมาเป็นผู้นำในโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี ตั้งแต่ปัญญาประดิษฐ์ คอมพิวเตอร์ควอนตัม จนถึงเทคโนโลยีชีวภาพ
ตั้งแต่ที่จีนได้สร้างอำนาจทางเศรษฐกิจด้วยวิธีการเหล่านี้ จีนจะสามารถแปรเปลี่ยนอำนาจเหล่านี้ไปสู่อำนาจทางภูมิรัฐศาสตร์ Evan Feigenbaum ประจำสถาบันCarnegie ได้ระบุชนิดของข้อได้เปรียบที่จีนสามารถใช้ “การล็อกอยู่ในทางเมืองและเศรษฐกิจที่ต้องการ” ตั้งแต่การแฝงตัวแผ่อำนาจจนถึงการบังคับขู่เข็ญหลายประเทศ ตั้งแต่เกาหลีใต้ มองโกเลีย ถึงนอเวย์ ในที่สุดแล้วจีนจะสามารถเพิ่มอำนาจในส่วนนี้อย่างเป็นระบบจนสามารถกำหนดผลลัพธ์ที่ต้องการ
และเหมือนที่สหรัฐอเมริกาสร้างกุญแจสู่ระบบระหว่างประเทศในช่วงหลังสงครามในการเมืองที่ตนเองต้องการ ทางเลือกที่สองนี้จะสามารถเป็นเส้นทางที่จีนสามารถใช้ในการเปลี่ยนแปลงค่านิยมและระบบระหว่างประเทศ หลายการศึกษาได้ค้นพบว่ารัฐบาลกรุงปักกิ่งได้กดดันในทุกวิถีทางต่อสหประชาชาติต่อผลประโยชน์ส่วนตน (การปิดกั้นสถานะของไต้หวันในสหประชาชาติ ปิดกั้นการวิจารณ์จีน) และส่งเสริมระบอบชนชั้นให้กิจการภายในมีความสำคัญมากกว่าสิทธิมนุษยชน และคำว่า “อำนาจหนาม” (sharp power) ได้กลายเป็นคำอธิบายสั้นๆ สำหรับการใช้อำนาจของจีนในการพยายามแทรกแซงการเมืองภายในประเทศประชาธิปไตย รวมถึงประเทศออสเตรเลีย, ฮังการีและแซมเบีย รัฐบาลปักกิ่งได้สร้างสมข้อได้เปรียบทางการทูต มีความเหนือกว่าสหรัฐอเมริกาในจำนวนของสถานทูตทั่วโลก และกำลังพยายามขยายอำนาจในความร่วมมือทางการเงินหลายฝ่าย สภาพอากาศโลกและองกรณ์ทางการค้า นั่นรวมถึงข้อกำหนดทางการค้าต่างๆ Tarun Chhabra จากสถาบัน Brookings ได้ติดตามความเคลื่อนไหวของรัฐบาลกรุงปักกิ่งว่านั้นดูเหมือนจะเป็นกว้างในทางอุดมการณ์ทางการเมือง แต่ในความเป็นจริงแล้วผลที่ออกมาคือการขยายระบอบอำนาจนิยม และควบคุมการขยายตัวและการตรวจสอบของระบอบประชาธิปไตย
ปัจจัยที่สำคัญสำหรับความเป็นผู้นำของสหรัฐอเมริกา ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และหลังสงครามเย็นคือระบบพันธมิตรที่ทั้งแข็งแกร่งและยืดหยุ่น ซึ่งรัฐบาลปักกิ่งนั้นมีน้อยกว่าสหรัฐฯ อย่างไรก็ตามผู้นำจีนนั้นได้มีการเริ่มจัดตั้งระบบฐานทัพต่างๆ ภายนอกชายฝั่ง เริ่มประเทศแรกที่จาบูติ และยกเลิกหนี้ให้กับประเทศพันธมิตร จีนได้ใช้ยุทธศาสตร์ที่จะแบ่งแยกและทำให้ระบบพันธมิตรต่อโลกเสรีนั้นอ่อนแอ โดยใช้การเปลี่ยนข้างของประเทศในยุโรปตะวันออกจากสหรัฐอเมริกาและพันธมิตรในเอเชีย
โดนความพยายามทั้งหมดนี้จะกลายเป็นประโยชน์ทันทีที่สหรัฐอเมริกาถอยห่างจากบทบาทดั้งเดิมในการเป็นผู้ค้ำประกันในระเบียบโลก และนี่เป็นปัจจัยหลักเหนือปัจจัยทั้งหมด
ประธานาธิปดีทรัมป์ ได้ให้ความสำคัญกับบทบาทดั้งเดิมของสหรัฐอเมริกาในการลงทุนด้ายความมั่นคง ซึ่งทำให้สหรัฐอเมริกามีความสามารถในการธำรงความเป็นมหาอำนาจในเอเชีย แต่ก็ไม่ได้ให้ความสำคัญที่สอดคล้องกับอุปสรรคอื่นๆที่สร้างโดยจีน การตอบสนองของสหรัฐฯต่อจีนในเรื่องของไวรัส COVID19 นั้นน่าเศร้าที่เป็นเพียงการตอบโต้ทางสัญลักษณ์ ด้วยการรวมกันระว่างความงุ่มง่ามที่จะย้ำเตือนโลกว่าไวรัสนั้นมีจุดเริ่มต้นที่จีน โดยที่แทบไม่มีการตอบสนองต่อการระบาดในประเทศอย่างสมควรและการไม่มีความเป็นผู้นำในเวทีโลกอันใดทั้งที่เป็นโอกาสในการแสดงให้เห็นถึงความเป็นหนึ่งของสหรัฐอเมริกา ในอดีต อาจจะได้เห็นสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำระหว่างประเทศในการผสานการลงทุนและความร่วมมือทางการแพทย์ทั่วโลก คงไม่มีใครคาดการณ์ว่ารัฐบาลกลางของสหรัฐฯนั้นจะล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่ากับการตอบสนองในประเทศและการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง สำหรับการพูดคุยเรื่องการแข่งขันของประเทศมหาอำนาจนั้น มีความเป็นไปได้ที่จีนนั้นจะเขามาแทรกในสุญญากาศทางอำนาจในอนาคตแทนที่สหรัฐอเมริกา โดยที่ทั้งโลกนั้นจำเป็นจะต้องยอมรับอำนาจของจีนอย่างไม่มีทางเลือก
แน่นอนว่ามันดูเหมือนเป็นไปไม่ได้ที่จีนสามารถก้าวขึ้นเป็นเจ้าโลกโดยสหรัฐอเมริกานั้นจะยอมรับในความเป็นหนึ่งทางทะเล แต่จีนนั้นก็ยังสามารถก้าวขึ้นสู่ความเป็นมหาอำนาจโลกได้การชิงตำแหน่งมหาอำนาจในแปซิฟิกตะวันออกโดยทางอ้อม โดยที่สหรัฐฯนั้นไม่สามารถป้องกันได้โดยการสะสมอำนาจทางเศรษฐกิจและการทูตแทนการใช้อำนาจกดดันทางการเมืองและการเผชิญหน้าทางทหาร
แน่นอนว่าวิถีทางนี้ก็มีปัญหา เนื่องจากว่าจีนนั้นไม่มีความสามารถในการในการผลิตทรัพยากรได้เท่าเทียมสหรัฐอเมริกาเนื่องจากว่ามีพลังอำนาจที่น้อยกว่า และเนื่องจากระบบการปกครองอำนาจนิยมรวมศูนย์นั้นทำให้ค่อนข้างการยากแก่การที่จะมีผู้นำที่ มีความรู้ความเข้าใจ, เป็นผู้นำในเชิงบวก ซึ่งเป็นจุดเด่นของสหรัฐอเมริกา วิกฤตไวรัส COVID19 นั้นแสดงให้เห็นในสองทิศทาง กล่าวคือ ความไม่มีวินัยของสหรัฐอเมริกา ได้สร้างความวิตกกังวลทั่วโลก แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้เห็นว่าจีนเองนั้นก็ไม่มีความรับผิดชอบ และก้าวร้าวขนาดไหน ตั้งแต่การปิดบังข้อมูลการระบาดในช่วงแรกๆ จนมีการระบาดไปทั่วโลก ถึงการปรุงแต่งเรื่องไร้สาระกล่าวหาว่าสหรัฐอเมริกาเป็นจุดเริ่มต้นในการแพร่ระบาด จนถึงการขายชุดทดสอบที่ไม่ได้มาตรฐานแก่ประเทศที่ขาดแคลนอย่างหนัก รัฐบาลของประเทศหลักๆ ในสหภาพยุโรปอย่างเช่นรัฐบาลเยอรมันนี ได้เบื่อหน่ายกับแนวทางการค้าที่มุ่งทำลายบริษัทอื่น ความพยายามในการยึดครองตลาดในอุตสาหกรรมสำคัญ และความปรารถนาในการทำลายเสรีภาพทางการแสดงความคิดเห็นในโลกประชาธิปไตย โดยการพยายามปิดปากข้อวิจารณ์ในเรื่องของสิทธิมนุษยชน ในการแสดงให้เห็นถึงด้านมืดของระบอบการปกครองของจีน ไวรัส COVID19 อาจจะสร้างกระแสต่อต้านสำหรับความมักใหญ่ไฝ่สูงในระดับโลกของรัฐบาลปักกิ่ง
สุดท้ายแล้วก็มีข้อจำกัดทางอุดมการณ์ในระดับผู้นำของจีน ความขัดแย้งรอบๆการขึ้นสู่อำนาจของจีนนั้นไม่ได้มาจากการกระทบกระทั่งทางเศรษฐกิจและผลประโยชน์เชิงภูมิรัฐศาสตร์เท่านั้น แต่สะท้อนให้เห็นถึงความไม่ไว้ใจกันที่อยู่ลึกๆ และความทรมานในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลประชาธิปไตยและรัฐบาลเผด็จการที่บ้าอำนาจ ความแตกต่างในเชิงคุณค่าทางการเมืองระหว่างประเทศประชาธิปไตยและรัฐบาลกรุงปักกิ่ง ที่ทำให้ประเทศประชาธิปไตยในยุโรปและประเทศประชาธิปไตยต่างๆ มีความไม่สบายใจต่ออำนาจที่เพิ่มขึ้นของจีนในบทบาทต่างๆในโลก แต่ทั้งหมดนี้ไม่ได้หมายความว่ารัฐบาลกรุงปักกิ่งนั้นจะไม่พยายามดำเนินในเส้นทางนี้ ซึ่งดูเหมือนน่าเดินมากขึ้นสำหรับจีน เนื่องจากสหรัฐอเมริกานั้นสูญเสียความสัมพันธ์และศักดิ์ศรี
ทั้งการวิเคราะห์สองแนวทางนี้ได้พบกับคำถามหลัก แล้วถ้าเกิดเป็นทั้งสองทาง หรือ ไม่ใช่ทั้งสองทางหล่ะ ในความเป็นจริงแล้ว ยุทธศาสตร์ของจีนนั้นดูเหมือนที่จะใช้ทางสองวิถีทาง จนถึงขณะนี้ รัฐบาลกรุงปักกิ่ง ได้สะสมและแสวงหาวิธีการที่จะเผชิญหน้าต่ออำนาจทางภูมิรัฐศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาในภูมิภาคแปซิฟิกตะวันออก โดยในขณะเดียวกันก็มาตนเองมาอยู่ในจุดที่เผชิญกับความท้าทายต่างในระดับโลก และมันก็มีความเป็นไปได้ที่รัฐบาลกรุงปักกิ่งนั้น จะไม่สามารถเดินตามทางใดทางหนึ่งได้อย่างสำเร็จ ถ้าเศรษฐกิจและระบบทางการเมืองนั้นอยู่ในสภาพลูกผีลูกคน หรือ ขู่แข่งของจีนนั้นได้ตอบโต้อย่างเป็นผล
1. มันเป็นการช่วยให้เห็นถึงกรอบทางเลือกด้านยุทธศาสตร์ และสิ่งที่ต้องแลกมา ที่จีนจะต้องตัดสินใจในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ทรัพยากรของจีนนั้นดูเหมือนกว้างใหญ่ไพศาลแต่ทรัพยากรเหล่านี้ล้วนมีจำกัด ทุกหยวนที่ถูกใช้ไปกับมิสไซล์ต่อต้านเรือรบ หรือ เรือดำน้ำเงียบ ไม่สามารถที่จะถูกนำมาใช้สำหรับโครงการก่อสร้างในปากีสถานหรือยุโรป การให้ความสนใจต่อการเมืองโดยภาพรวมของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของจีนนั้นมีจำกัด ประเทศที่กำลังก้าวขึ้นมามีอำนาจนั้นยังต้องเจอกับคู่แข่งที่แข็งแกร่ง และยังมีความยากลำบากในการบริหารกิจการภายใน จีนนั้นมีขีดจำกัดในการรับมือกับอุปสรรคด้านภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์โดยไม่ขูดรีดภาษีมากเกินไปหรือทำให้ผลของความพยายามออกมาได้ดีเท่าที่ควร จีนนั้นจะต้องตัดสินใจอย่างเป็นเหตุเป็นผลและเดินไปตามทางที่เห็นว่าจะเป็นไปได้มากที่สุดที่จีนจะก้าวขึ้นสู่อำนาจตามที่วางแผนไว้ และเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลสหรัฐฯ เองนั้นก็มีหน้าที่ในการตัดสินใจถึงการตอบโต้ของรัฐบาลวอชิงตัน
2. แบบฝึกหัดนี้จะช่วยทำให้สามารถมองเห็นความท้าทายทางยุทธศาสตร์ที่สหรัฐอเมริกาต้องพบเจอ นักวิเคราะห์ชั้นนำของสหรัฐอเมริกาอาจถกเถียงว่า ถ้ารัฐบาลปักกิ่งไม่สามารถชนะทางการพัฒนาทางทหารและขึ้นเป็นหนึ่งทางทะเล ก็จะไม่สามารถที่จะขึ้นเป็นเป็นคู่แข่งของสหรัฐอเมริกาในระดับโลกได้ การวิเคราะห์ในลักษณะนี้ให้ความสำคัญอย่างสูงสำหรับการลงทุนของสหรัฐอเมริกาในทางการทหาร และพัฒนาทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการปฏิบัติการทางทหารที่จำเป็นในการถ่วงดุลอำนาจในช่องแคบไต้หวันและจุดยุทธศาสตร์อื่นๆที่สำคัญในภูมิภาค ซึ่งก็ได้เริ่มขึ้นแล้ว
สหรัฐอเมริกายังสามารถพ่ายแพ้ต่อจีนแม้ว่าจะสามารถรักษาความเป็นใหญ่ทางทหารในภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตก
การลงทุนด้านนวัตกรรมนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่การวิเคราะห์ของเรานั้นก็ยังเห็นว่าสหรัฐอเมริกาเองก็สามารถพ่ายแพ้ต่อจีนแม้ว่าจะสามารถรักษาความเป็นใหญ่ทางทหารในภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตก มันทำให้เราต้องคิดถึงวิธีการที่นุ่มนวลกว่าในการแข่งขัน ตั้งแต่การให้แหล่งทางเลือกของเทคโนโลยี 5G และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานนั้นจำเป็นในการแสดงให้โลกได้เห็นถึงความเป็นผู้นำที่มีความสามารถในการแก้ปัญหาต่างๆ ทั่วโลก นั้นก็เป็นวิธีการที่สำคัญเทียบเท่ากับอำนาจที่แข็งกร้าวในการจัดการความขัดแย้งกับจีน มันเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญเฉกเช่นเดียวกับการปกป้องพันธมิตรที่สำคัญจากความแตกแยกจากภายใน ซึ่งถูกเร่งโดยจีนด้วยการซื้ออิทธิพลและการใช้สงครามด้านการข่าว ปกป้องพันธมิตรจากความกดดันทางการทหารภายนอก และนี่จะเป็นการเตือนว่าถ้าสหรัฐอเมริกาลงทุนเฉพาะด้านการทหารโดยที่ละเลยการทูตและความช่วยเหลือระหว่างประเทศ จะทำให้เกิดช่องกลวงในระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา และนั่นก็อาจจะเป็นการพิสูจน์ว่าถอยห่างจากองกรณ์ระหว่างประเทศนั้นก็เป็นอันตรายเฉกเช่นการไม่สามารถรักษาอำนาจทางทหารซึ่งเป็นกระดูกสันหลังของรัฐบาลวอชิงตันในต่างแดน
3. เหตุผลสุดท้ายคือ การคิดถึงสองวิถีทางที่จีนนั้นจะก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจของโลกนั้น ทำให้เราเห็นได้ชัดถึงความเหมือนและความแตกต่างของของความท้าทายในปัจจุบันกับสมัยสงครามเย็น โดยขณะนั้นและในขณะนี้ จุดศูนย์กลางของความขัดแย้งทางทหารโดยตรงที่มากที่สุดคือ ยุโรปกลาง ในสมัยสงครามเย็น ความยากลำบากในและอันตรายนการผลักดันสหรัฐอเมริกาออกจากภูมิภาคนั้น ทำให้สหภาพโซเวียตพยายามหาทางชิงความได้เปรียบทางอ้อม โดยรัฐบาลกรุงมอสโคว์นั้นได้ลองชิงความได้เปรียบในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาโดยสนับสนุนทางเศรษฐกิจ การโค่มล้มรัฐบาล และการสนับสนุนขบวนการปฏิวัติต่างๆ สหภาพโซเวียตนั้นก็หาทางบั่นทอนความสัมพันธ์ของชาติพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกาในยุโรปและภูมิภาคอื่นๆโดยการใช้กำลังทางทหารและการแทรกแซงทางการเมืองโดยปริยาย
สหภาพโซเวียตนั้นไม่เคยเป็นคู่แข่งที่สำคัญทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา โซเวียตนั้นไม่เคยมีความสามารถและความเชี่ยวชาญ ที่จะสร้างมาตรฐานระหว่างประเทศ และสร้างสถาบันอย่างเช่นที่จีนนั้นเป็นอยู่ อำนาจของสหภาพโซเวียตนั้น มีพื้นฐานที่ค่อนข้างแคบ ซึ่งเป็นขีดจำกัดทางยุทธศาสตร์ของรัฐบาลกรุงมอสโก และความขัดแย้งกับสหรัฐอเมริกานั้นกลายเป็นในเชิงมานีธรรม (Manichean terms) ความดีต่อสู้กับความชั่ว ชัยชนะหรือปราชัย อยู่รอดหรือล่มสลาย ซึ่งในปัจจุบันนั้นมีความซับซ้อนที่มากกว่าในความสัมพันธ์ ซึ่งเป็นส่วนผสมระหว่างการแข่งขันที่แหลมคม และการพึ่งพาอาศัยกันอย่างเสียมิได้
สหรัฐอเมริกานั้นมีความสามารถมากกว่าในการแข่งขัน จนถึงขณะนี้สหรัฐอเมริกานั้นยังไม่ได้เคลื่อนไปสู่ทิศทางที่ทำลายตนเอง แต่ข้อเท็จจริงที่จีนนั้นมีสองเส้นทางที่จะก้าวขึ้นเป็นจ้าวโลกนั้นหมายความว่าการแข่งขันนั้นจะมีความซับซ้อนมากขึ้น หรือเป็นไปได้ที่จะชนะยากขึ้นกว่าการแข่งขันของสหรัฐอเมริกาที่ผ่านมา