พอตระหนักได้ว่าจริงๆ แล้วเราไม่ใช่เอเทียส แต่เป็นพวก “ฆราวาสนิยม”
แล้วเราก็ยังชื่นชอบความรุ่มรวยและลุ่มลึกของความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรมที่มันสัมพัทธ์กับชีวิตผู้คนอย่างมาก
เราตัดสินใจทุ่มเทผลงานการศึกษาเฉพาะบุคคล (IS แต่ที่คณะผมเขาใช้มาตรฐานและระเบียบวิธีแบบ Thesis ป.โทนะครับ โหดมาก) ไปที่การมองหาความสัมพันธ์ของความเชื่อดั่งเดิม คือ “ขวัญ” “ผี” (Animism)ในบ้านเรา ที่มันล้ออย่างดีกับความเป็นพราหมณ์และพุทธจากอินเดีย
ทั้งหมดนี้สัมพันธ์โดยตรงกับโลกยุคใหม่ของเราคือ อุดมการณ์ตะวันตกที่เข้ามาปะทะผีตะวันออก คือ อุดมการณ์รัฐชาติ และ ความเชื่อแบบคริสต์ศาสนา
สองอย่างหลังนี้มันเอาแบบแผนศีลธรรมแบบวิกตอเรียนมาครอบงำเราถึงปัจจุบัน
เราจึงกลับบ้านไปชุมชนคาทอลิกที่เราเคยเรียนตอนประถม ชุมชนคาทอลิกจ๋า ที่อยู่ท่ามกลางหมู่บ้านพุทธและผีที่เข้มแข็งมากในอีสาน และยังเป็นพื้นที่สีแดงในยุคสงครามเย็นที่อุดมการณ์ชาติมันถูกนำมาใช้อย่างเข้มข้นที่สุดในอีสาน
มันบอกผ่านประเพณีพิธีกรรมอย่างงาน “บุญบ้าน” และวัน “คริสต์มาส” นี้อย่างไรล่ะ