explicitClick to confirm you are 18+

ทำไมคนถึงประท้วง (ฉบับคนเขียนจำแหล่งไม่ได้)

NeneNov 23, 2021, 2:05:29 PM
thumb_up7thumb_downmore_vert

ภาพ: Pawel Janiak

***หมายเหตุ: เคยลองอ่าน/แปลบทความนึงเมื่อปีสองปีที่แล้ว จำ source ไม่ได้จริง และไม่ได้ยกมาทั้งบทความ แต่ตอนนั้นเห็นว่าน่าสนใจดี เลยลองแปลอ่านเองดู ซึ่งคิดว่าตัวเองแปลได้กากมาก ถถถถถถ วันนี้เลยอยากให้อ่านกันฮะ***

 

การหมดความน่าเชื่อถือของรัฐและอำนาจ

แน่นอนอยู่แล้วครับว่าคนที่ตาสว่างจะเห็นว่ารัฐบาลชุดนี้มันไม่น่าฝากชีวิตไว้ขนาดไหน การถูกเอาเปรียบ ถูกหลอก การทำให้ตกใจกลัวหรือโกรธ อารมณ์แรงๆ ด้านลบพวกนี้ พอรวมกันก็กลายเป็นเชื้อไฟอย่างดี เมื่อไหร่ก็ตามที่ประชาชนเชื่อใจรัฐบาลนี้ไม่ได้ หรือมีความไม่เท่าเทียมเกิดขึ้นในสังคมมาแบ่งแยกประชาชน พวกเขาจะมาประท้วง

 

ความคับข้องใจร่วมกัน

ผู้คนที่ข้องใจในสถานการณ์ใกล้ๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเงิน ภูมิศาสตร์ การเมือง เพศ เชื้อชาติ หรืออะไรก็ตามที่ทำให้คนรวมกัน จะมีจุดประสงค์บางอย่างที่เกี่ยวเนื่องกันอยู่ แม้เพียงข้อเดียวก็ตาม แต่แค่เรื่องเดียวก็มากพอจะจุดไฟให้ติดแล้วครับ และความคับข้องใจนี่แหละ คือแรงจูงใจชนิดรุนแรงที่ทำให้คนออกมาชุมนุม 

 

อารมณ์ที่จริงจังร่วมกัน

เมื่ออารมณ์ของคนอยู่ในจุดที่สูงมาก คนจะตัดสินใจในสิ่งที่พวกเขาไม่เคยตัดสินใจในสถานการณ์ "ปกติ"  ครับ

 

ความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์

เป็นเรื่องปกติครับที่จะมีการประท้วงในพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่น มากกว่าพื้นที่ที่เป็นชนบท ยิ่งคนอยู่ในพื้นที่ใกล้กัน ที่มีความเชื่อเดียวกัน ไฟจะยิ่งลามได้ง่ายมาก ซึ่งนอกจากนี้จะทำให้เกิดการกระทำร่วมกันด้วย และยิ่งคนออกมามากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเห็นความเหลื่อมล้ำและไม่เท่าเทียมมากเท่านั้น 

 

การไม่เผยตัวตน

บางกรณี ประชาชนก็อยากให้ชื่อและหน้าของตัวเองไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ตนเองเชื่อ แต่ก็มีหลายสถานการณ์ที่ประชาชนจะไม่ทำอะไรเป็นคนๆ ไป แต่หากทำเป็นกลุ่มก็จะเข้าพวกง่ายกว่า รวมไปถึงการกระจายความเสี่ยงร่วมกันให้ได้มากพอๆ กัน ซึ่งจะทำให้คนหนึ่งคนยินดีรับความเสี่ยงไว้มากขึ้น 

 

ความมีประสิทธิภาพ

ถ้าทำอะไรคนเดียว มันอาจเป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรครับ เช่น แอคทวิตเล็กๆ ที่โพสต์ออกไปแล้วรู้สึกไม่มีเสียง เหมือนตะโกนใส่กำแพง แต่เมื่อมีคนอื่นๆ มาช่วยเป็นกระบอกเสียง และตะโกนร่วมกัน เสียงของประชาชนจะดังมากขึ้น (การติด # ก็ช่วย) เสียงที่ดังขึ้น ทุนที่หนาขึ้น และคนที่มากขึ้น หมายความว่าจะมีเวลาและความสนใจให้ปัญหานี้มากขึ้นครับ

 

สิ่งกระตุ้นเพื่อเอาตัวรอด

อะดรีนาลีนและฮอร์โมนความเครียดจะทำให้คนเข้าสู่สภาวะ "สู้หรือหนี" ดังนั้นระบบการตอบสนองภายในกำลังบอกเราว่า เราอยู่ในโหมดเอาตัวรอด ถึงจุดนี้เราจะมีการตอบสนองที่เราเองก็ควบคุมไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการบอกให้เรายืนหยัดเอาไว้และสู้ต่อ หรือหันหลังวิ่งหนีออกไปจากอันตราย แต่พอเห็นว่าคนอื่นๆ เลือกที่จะยืนหยัดเพื่อสู้กับปัญหา เรามักจะทำเช่นกัน