อันนี้เป็นบล็อกพาร์ตแรกของบล็อก Truth about Cats & Dogs นะครับ หรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสุนัขและแมว เนื้อหาส่วนนี้เป็นเนื้อหาของ University of Edinburgh สหราชอาณาจักรครับ (#CatDogMOOC) โดยบล็อกพาร์ตแรกก็จะเป็นเรื่องของแมวก่อนนะครับ โดยจะอธิบายพฤติกรรมโดยรวมของแมวนะครับ ในบางพฤติกรรมที่เราอาจจะเจอในโลกจริง และมีความแปลกว่านั้นผมขอไม่อธิบายนะครับ เพราะโดยแมวนี่ก็เป็นสัตว์ที่มีความสันโดษและมีความ individualize (ความเป็นปัจเจก) สูงพอตัวเลยล่ะครับ
• เริ่มได้รับความนิยมมากกว่าสุนัข
• ถูกนำมาเลี้ยงในช่วง 10,000 ปีก่อน
• การเลี้ยงแมวเกิดจากการพัฒนาของระบบการเกษตร ทำให้มีปัญหาที่ตามมาคือการมีหนูเพิ่มขึ้นทำลายผลผลิตทางการเกษตร ทำให้มนุษย์เริ่มเลี้ยงแมวเพื่อที่จะจับหนู → ความสัมพันธ์แบบ beneficial relationship
• ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับแมวยังไม่ดีมากนัก → แมวสามารถอยู่ได้ด้วยตัวเองได้โดยไม่ต้องมีมนุษย์
• ขนาดและลักษณะลำตัวมีความแตกต่างน้อยกว่าสุนัข
• ยังคง Predatory instinct อยู่ค่อนข้างครบ → การให้โอกาสฝึกนิสัยหรือทดสอบการล่าเหยื่อจะช่วยเรื่อง emotional และ physical need
• หวงอาณาเขตและทรัพยากรณ์มากๆ มีช่วงที่จะเปิดรับสิ่งใหม่ๆ (socialization period) อยู่ในช่วงอายุ 2-7 wks.
ธีมที่เราจะใช้อธิบายพฤติกรรมของแมว คือ การเป็น Solitary predator หรือนักล่าสันโดษครับ
• โดยปกติแมวจะอยู่ตัวคนเดียวและล่าคนเดียว
• ทำให้โดยปกติมันจะมีพฤติกรรมที่หวงอาณาเขตมากๆ
• การศึกษาได้แบ่ง zone ของแมวออกเป็น 3 โซน
• ส่วนที่เป็น Core zone หรือโซนที่มี key resource เช่น ที่นอน อาหาร น้ำ ที่ถ่าย ที่ซ่อนตัว จะเป็นโซนที่สำคัญที่สุด
• แมวเหมือนสัตว์ชนิดอื่นๆ คือการ rely บนกลิ่นเพื่อบ่งบอกอาณาเขตของตัวเอง
◦ ตัวแมวเองจะถูไถเพื่อให้มีกลิ่นของตัวเองติดเป็นการบอกอาณาเขต (cat spraying เป็น scent-marking behavior)
◦ อย่างที่กล่าวไป หากมีการรุกล้ำ core zone เช่น มีแมวตัวอื่นเข้ามา ก็จะทำให้กลิ่น หรือ scent profile เปลี่ยนไป แมวก็จะรู้สึกไม่ปลอดภัย ทำให้ต้องถูกเพื่อกลบด้วยกลิ่นตัวเอง
◦ หากเป็นบ่อยๆ เข้า แมวอาจจะมีพฤติกรรมการป้ายกลิ่น (spraying) ที่แรงขึ้น เช่น การฉี่
ถึงแมวจะเป็นสัตว์ที่สันโดษโดยสัญชาติญาณ แต่ก็สามารถอยู่กับแมวตัวอื่นๆ เป็น colony ได้ หรือเรียกว่า social grouping
• แมวที่อยู่ใน social grouping เดียวกันจะมีพฤติกรรมเฉพาะที่เพิ่มขึ้นมา
• มักจะเจอในแมวบ้าน แต่ในบางโอกาสก็จะเจอในแมวข้างถนน เพื่อเพิ่มโอกาสการได้อาหาร
◦ Grooming หรือการเลียขนให้กัน
◦ การทักทายแบบเอาจมูกมาชนกัน (nose-to-nose greeting)
◦ การนอนหลับในที่เดียวกัน
• แมวที่จะอยู่ใน social group เดียวกันที่ไว้ใจกันมากๆ จะเกิดขึ้นเมื่อแมวตัวนั้นได้เจอกันในช่วง socialization period
• ปกติแมวจะไม่ใช่เสียงในการสื่อสาร แต่แมวนั้นสร้างเสียงได้หลากหลายมากๆ
• ทำให้มันจะใช้เสียงสื่อสารกับคนเป็นหลัก โดยเสียงที่มันร้องออกมาอาจไม่เหมือนกันในแต่ละตัว ขึ้นอยู่กับว่าคนจะสนใจกับเสียงร้องแบบไหนของมันมากที่สุด
• ร้องเหมียว อาจไม่เท่ากับหิวเสมอไปนะครับ บางทีมันก็แค่ต้องการ seek attention เท่านั้นครับ แมวบางตัวโดน feed จนอ้วนเพราะไปร้องเหมียวบ่อยๆ นี่แหละครับ
• เวลาแมวคราง (purr) มักจะแปลว่าแมวกำลังมีความสุขครับ แต่ในบางครั้งแมวอาจจะครางเยอะ นั่นอาจแปลว่าแมวป่วยอยู่ก็ได้ครับ เพราะนักวิทยาศาสตร์เข้าใจว่าการ purring ของแมวนั้น เป็น self soothing (เยียวยาตัวเอง) ได้ครับ แต่ยังไม่เข้าใจกลไกเหมือนกัน คงคล้ายๆ กับคนเราพอเจ็บแผลแล้วลองเป่าๆ ดูมันจะเจ็บน้อยลงอะไรงี้ครับ (แต่อันนี้รู้กลไกนะ)
• การดูว่าแมวสื่อสารอะไร โดยง่ายและแม่นยำที่สุดคือการดูที่พฤติกรรมที่มันแสดงออกมา โดยดูได้จากภาพรวมทั้งตัว หาง หรือใบหน้าครับ
• แมวตัวอื่นก็สังเกตพฤติกรรมของพวกเดียวกันเองเป็นหลักครับ ด้วยความเป็น solitary predator ทำให้การพัฒนาด้านการสื่อสารกันเองอาจจะน้อยหน่อยครับ (อันนี้คือเท่าที่วิทยาศาสตร์รู้ครับ ไม่รู้สุดท้ายมันคุยกันรู้เรื่องรึเปล่านะครับ) ทำให้แมวที่ไม่รู้จักกันมักจะมี conflict กันเองครับ
• แต่ปัญหาคือการแสดงออกทางพฤติกรรมของแมวจะดู subtle มากๆ ถ้าไม่สังเกตดีๆ ก็อาจจะไม่รู้ว่าแมวกำลังสื่อว่ากำลังไม่พอใจ เป็นสาเหตุทำให้โดนกัดหรือโดนข่วนได้ครับ
• ด้วยความรักสันโดษ แมวมักจะเลือกเข้าหาคนที่ไม่ได้ seek attention มากกว่า เพราะจะดู less threatening (ดูเป็นพิษภัยน้อยกว่า) เพราะคนที่ seek attention มักจะสบตาแมว ซึ่งแมวมองว่ามันดูคุกคาม
• ได้มาจากบรรพบุรุษเยอะมากๆ
• อาจไม่ค่อยเข้ากับ modern life ของคน
• แมวไม่ได้ถูก adopt มาเท่ากับสุนัข ทำให้พฤติกรรมเดิม ยังคงอยู่เยอะ
• ปกติชนิดเหยื่อที่ล่าจะขึ้นกับสิ่งที่แม่แมวเอามาให้ดู
• เริ่มล่า live prey ตอนอายุ 4 wk. และล่าหนูได้เองตอนอายุ 5 wk.
• เริ่ม weaning พฤติกรรมล่าตอนอายุ 7 wk.
• แมวเป็นสัตว์ที่ถูก design มาให้ frequently feed in a small calories หรือการกินจุกกินจิกนั่นเอง (กินน้อย แต่กินบ่อย)
◦ แมวออกล่ามากถึงวันละ 30 ครั้ง
◦ คนที่ไม่เข้าใจก็จะ overfeed แมวจนอ้วนได้
▪ เกิดประจำ
▪ คนให้อาหารทันทีที่ร้อง
▪ แมวเสียนิสัยไม่ยอมล่า ไม่ยอมใช้พลังงาน
◦ แก้โดยการให้แมว work for food → food puzzle หรือ เอาอาหารไปซ่อนให้แมวหาเอาเอง
• การเล่นของแมวก็มาจากพฤติกรรมการล่านั่นแหละ
• เล่นกับ inanimate object
• เล่นได้นานขึ้นหาก object นั้นหน้าตาคล้ายกับเหยื่อที่ล่า
• แต่เบื่อได้ง่าย เพราะแมวจะ depend on change in characteristics of victim (เหยื่อต้องมีการเปลี่ยนแปลง) ซึ่ง inanimate object ให้ไม่ได้ (ในธรรมชาติคือการ successful kill)
• เทคนิคการเล่นคือ ให้เล่นของเล่นไม่นาน แต่ให้เล่นบ่อย และมีการสับเปลี่ยนของเล่นไปเรื่อยๆ
• เล่นประมาณ 5 นาทีต่อวันก็ช่วยในเรื่องปัญหาพฤติกรรมของแมวได้
• การ hunt และการ kill ถูกคุมโดยคนละส่วนกัน
◦ แมวที่กินจนอิ่มจะลดโอกาสล่า 50% และมักไม่ฆ่าเหยื่อที่จับได้ แต่จะเล่นกับมันแทน
• แมวอยากจะได้อะไรจะเรียกคนเอง
◦ อาจจะเป็นอาหาร, ให้ลูบ หรือเล่นด้วยก็ได้
◦ การ interaction ตอนไหน ให้แมวเป็นคนเลือกเอง เพราะแมวบางตัวมองการ interact กับคนมัน stressful
• Originate ในทะเลทราย แต่สามารถปรับตัวมาอยู่กับคนได้อย่างรวดเร็ว
• สามารถอยู่นอกบ้านล่าเหยื่อเองได้ หรืออยู่โดยไม่มีคนเลยก็ได้
• ใช้อุปกรณ์ต่างๆ ได้ ถ้าได้เรียนรู้
• มีการคิดเป็นเหตุเป็นผล คือมีเหตุแล้วจะเกิดผลตามมา
• แต่เราไม่สามารถ train ให้แมวมี skill ที่เราต้องการได้ เพราะแมวไม่ค่อยตอบสนองต่อ owner praise (แต่ตอบสนองต่อขนมอร่อยๆ มากกว่า)
ปกติแล้วความเชื่อหรือ myth เนี่ยจะแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรม ที่จะพูดถึงตรงนี้คือสิ่งที่สัตวแพทย์ที่สหราชอาณาจักรเจอเกี่ยวกับการเลี้ยงแมวครับ
- 44% ของบ้านที่เลี้ยงแมวใน UK เลี้ยงแมวมากกว่า 1 ตัว
- แมวส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาเมื่ออยู่ด้วยกัน
- 16% แมวมีปัญหากัน
- ควรเลี้ยงมาด้วยกันตั้งแต่เล็กๆ
- แต่อยู่ด้วยกันได้ก็ใช่ว่าจะมีความสุข
- มีแมวที่เคยอยู่ด้วยตายไปแมวอีกตัวดูมีความสุขขึ้น
- แมวจะเครียดถ้าต้อง share resource กัน
- การจัด resource ที่เหมาะสมคือ เพิ่มถาดอึ, ชามอาหาร, ชามใส่น้ำ, scratching pole, hiding place ควรมีอย่างน้อยเท่ากับจำนวนแมวที่เลี้ยง +1 (เผื่อไว้ 1)
- แมวถูกออกแบบมาให้อยู่แบบสันโดษอยู่แล้ว ดังนั้นเพื่อนที่เป็นแมวด้วยกันจึงไม่จำเป็น
- ไม่มี แต่อาจจะมีการรวมกลุ่มกันบ้างเมื่อจังหวะพอเหมาะ
- Aggression (ที่เกิดกับแมวด้วยกันเอง หรือกับเจ้าของ) มักเกิดจากแมวเครียดและต้องการหาที่ลง หรืออาจจะป่วยก็ได้ (อาการป่วยบางอย่างทำให้มี sudden change in behavior ได้)
- แมวเป็นสัตว์ที่มี conflict อยู่ภายในตัว → การลูบเหมือนการ grooming ทำให้รู้สึก relax แต่ใน instinct ลึกๆ ก็ทำให้รู้สึกไม่ปลอดภัย ทำให้ต้องป้องกันตัว หรือกระโดดหนี
- ก่อนการกัดหรือข่วนแมวมักมีสัญญาณก่อนเหมือนสุนัข เป็น ladder of aggression แต่อาจจะดูได้ยากหรือไม่ทันได้สังเกต เช่น เลิกคราง → หางเริ่มสะบัดแรง → ตัวเริ่มเกร็งแข็ง → ขู่ → กัด/ข่วน
- หากแมวเริ่ม aggression ทันทีที่จับบางบริเวณ อาจหมายถึงกำลังเจ็บบริเวณนั้น อาจเป็นโรคอยู่ก็ได้
- ความจริงมีได้ทั้งแมวตัวเมียและแมวตัวผู้ แต่จะเจอได้บ่อยกว่าในแมวตัวผู้ โดยเฉพาะในบริเวณที่มีแมวหลายๆ ตัว เพื่อเป็นการสร้างกลิ่นบ่งบอกอาณาเขต
- ถ้าทำบ่อยๆ มากๆ อาจแปลว่าแมวกำลังป่วย เช่นเป็น cystitis (กระเพาะปัสสาวะอักเสบ) จึง spray ไปเพื่อ self-assuring (ทำให้ตัวเองสบายใจ) สังเกตได้จากการ spray ในบริเวณที่เรารู้อยู่แล้วว่าแมวจะ safe เช่น ในบ้าน หรืออาจจะเกิดจากภาวะเครียดบางอย่าง เช่น มีแมวตัวอื่นมารบกวนบริเวณของตัวเอง (ดูภาพ cat territory ประกอบครับ)
- อันนี้ทาสแมวรู้ คนที่รู้จักทาสแมวหรือนิสัยแมวก็น่าจะรู้ครับ ว่าะเลี้ยงแมวให้มันเป็นแมวนี่ (Quality of Life ดี) ไม่ได้ลงทุนน้อยๆ ครับ แต่ที่สหราชอาณาจักรบอกเลยว่านี่ ร่วมกับการที่แมวเป็นสัตว์ที่ปรับตัวเก่ง เป็นเหตุผลที่ทำให้คนประเทศเขาสนใจเลี้ยงแมวมากกว่าสุนัขครับ
- เอาง่ายๆ นะครับ แค่ key resource ที่กล่าวไปคือควรเตรียมไว้ให้เกิน 1 ชิ้นอยู่แล้ว ก็ใช้ค่าใช้จ่ายไประดับหนึ่งแล้ว นี่ยังไม่รวมค่าของสิ้นเปลือง เช่น อาหาร, ของกินเล่น, ทรายแมว, แม้แต่ของเล่นแมว ที่ควรมีหลายๆ ชิ้นเพื่อให้แมวไม่เบื่ออีกครับ และนอกจากนี้การที่จะทำให้สัตว์นักล่าอย่างแมวไม่มีปัญหาพฤติกรรมในภายภาคหน้า ก็ควรเอาออกจากบ้านไปเจอโลกภายนอกบ้างนะครับ
**ทั้งนี้ ความเยอะของแมวก็ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ด้วยครับ อย่างเช่น ถ้าเป็นแมว hybrid (พันธุ์ผสมแมวบ้าน + แมวป่า) อย่าง Bengal หรือ Savannah การกระตุ้นทางสังคมก็อาจจะต้องการเยอะหน่อยเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาพฤติกรรมครับ