......เรารู้จัก Karl Marx ในฐานะนักคิด นักประวัติศาสตร์ นักปรัชาญาการเมืองที่เป็น “นักปฏิวัติชนชั้น” ด้วย
ความหลากหลายทางวิธีคิดนเรื่องประวัติศาสตร์และการต่อสู้ทางชนชั้นที่มาร์กซทิ้งไว้เป็นมรดกแก่ชนรุ่นหลังจึงครอบคลุมหลายแง่มุมและหลายระดับ ตั้งแต่ระดับโครงสร้างสังคมของมนุษยชาติ ชนชั้นภายในรัฐ จนถึงการเมืองในระดับชีวิตประจำวัน
มีคำสั้นๆ คำหนึ่งที่พอจะอธิบายแง่มุมเล็กๆ ในชีวิตสามัญแสนเล็กน้อยในโลกแห่งวัตถุนิยมอันยิ่งใหญ่คือ คำว่า “Praxis” หากแปลเป็นไทย คงจะยากผมจึงแทนว่าเป็น “การปฏิบัติแบบปฏิวัติ” แล้วกัน
......มนุษย์ตั้งคำถามกันมายาวนานแล้วว่า “การกระทำ” ของเรานั้นเกิดจากอะไร หมอผีคงบอกว่าโชคชะตา นักบวชในศาสนาคงบอกว่าเพราะลิขิตพระเจ้า หรือบุญทำกรรมแต่ง นักมนุษยนิยมจะบอกว่าเพราะ Free will หรือเจตจำนงค์เสรี และสุดท้ายนักวิทยาศาสตร์คงบอกว่าเพราะเคมีในร่างกายและกลไกทางจิต แต่มาร์กซ ในฐานะนักประวัติศาสตร์และนักปฏิวัติบอกว่า “เพราะเราเชื่อไง” เราถึงทำ
.....มาร์กซก็เริ่มอธิบายโดยเอาคำว่า “โครงสร้างส่วนบน” มีอิทธิพลให้ความเชื่อถูกสร้างขึ้น ทั้งศาสนา กฏหมาย และประเพณี คือสิ่งที่โครงสร้างส่วนบนตราไว้หลอกลวงมนุษย์สามัญ ทาส ไพร่ติดที่ดิน จนถึงกรรมาชน ในยุคของเขา และความเชื่อต่างๆ ที่มนุษย์เชื่อนั้นมีประโยชน์กับใครเหล่า หากมิใช่ผู้ปกครองที่กดขี่ฝ่ายหนึ่งมาตลอดประวัติศาสตร์
.....การที่มาร์กซชี้ให้เห็นว่าทุกอย่างถูกทำให้เชื่อก็เพราะเขาจะมอบวิธีคิดเรื่อง การปล่อยตัวเองจากความเชื่อ ในยุคนั้นตารางเวลาและการกระทำเเบบ รูทีน หรือ แบบกิจวัตรเกิดขึ้นในชีวิตมนุษย์ตามลักษณะสังคมอุตสาหกรรม การปฏิบัติแบบกิจวัตรนี้อยู่ใต้การควบคุมโดยโครงสร้างส่วนบน ที่นายทุนเจ้าของกิจการ หรือใครก็ตามกำหนดขึ้นบงการชีวิต
....เมื่อเราปฏิบัติการตามกิจวัตรซ้ำๆ ท้ายที่สุดเราและลูกหลานก็จะถูกสอนให้เชื่อว่าชีวิตมันเป็นอย่างงั้น และเราทำได้เเค่นี้
การปฏิบัติการของมนุษย์ถูกควบคุมด้วยโครงสร้างการผลิตนี้ ทำให้ มนุษย์ หรือ คนที่ไม่สามารถกระทำการกรอบกฏเกณฑ์ความเชื่อดังกล่าวได้ถูกทำให้เป็นชายขอบ หรือ ภาวะเป็นอื่น พูดง่ายๆก็คือจะถูกรังเกียจ (ในยุคนี้คงใช้คำว่าถูกลดทอนความเป็นมนุษย์) ด้วยวิธีคิดของมาร์กซ “การเป็นอื่น” จะนำไปสู่การขูดรีดแรงงาน เพราะผู้คนที่เป็นอื่นจากเงื่อนไขหลายอย่าง เช่น คนป่วย ท้อง พิการ ผิดเพศ ฯลฯไม่สามารถเป็นทาสการผลิตให้นายทุนได้ดังที่โครงสร้างส่วนบนหวัง แรงงานต้องทำงานให้มากขึ้นหรือพยายามให้มากขึ้นที่จะเป็นส่วนหนึ่งกับวิถีการผลิตให้ได้จนเกิดความไม่เป็นธรรมต่อแรงงาน ดังนั้นต้องมี “การปฏิบัติแบบปฏิวัติ” เพื่อเปลี่ยนแปลงการขูดรีดให้หมดไป
.....ดังนั้น Praxis คือการมองให้มองว่า ในชีวิตประจำวันมีอยู่บางสิ่งที่เราทำจนเคยชินและไม่รู้ว่ามันมีส่วนผลิตซ้ำความเชื่อที่โครงสร้างส่วนบน นายทุน เจ้า หรือพระ สร้างขึ้น ต้องมองให้ออกและค่อยๆ ลดละเลิก หรือเปลี่ยนแปลง แม้ว่ามาร์กซจะเสนอว่าจะหยุดการปฏิบัติแบบกิจวัตรที่ขูดรีดได้ต้อง “โค่นล้มนายทุน” ล้มกระดานและชนชั้นล่างขึ้นมาสร้างความเชื่อเอง แต่ศิษย์มาร์กซในสมัยหลังก็คลี่คลายแข็งกร้าวนี้ลงว่า Praxis อาจมีหลายวิธี เช่น การดื้อแพ่ง การหยุดงานเพื่อต่อรอง หรือพูดง่ายๆ คือ ผู้คนที่ถูกทำให้เป็นอื่นมีความสามารถในการปฏิบัติการบางอย่างที่สามารถเปลี่ยนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมอีกครั้งได้ (ไม่สุดขั้วเท่าการปฏิวัติ แต่มีการเปลี่ยนแปลง)
เช่น คนหนุ่มสาวที่ทำงานในโรงงานในเมือง และถูกขูดรีดแรงงานจึงไม่พอใจ กฏหมายแรง อาจรวมตัวกันกลับบ้านเพื่อสมัครเป็นตัวแทนทางการเมืองและกลับมาเสนอเปลี่ยนแปลงแก้ไขกฏหมาย นี่ก็เป็น Praxis ในมุมมองเรา แต่เป็น Praxis ในบริบทสังคมประชาธิปไตย
ดังนั้น หากนายทุนและชนชั้นบนมีอำนาจล้นพ้น Praxis แบบค่อยๆทำแต่เปลี่ยนแปลง อาจไม่ทรงอิทธิพลเท่า Praxis เพื้่อการ Revolution ก็ได้
เราอาจสู้กับเผด็จการอย่างผิดวิธีอยู่ หันกลับมามองการหยิบอาวุธสู้โค่นล้มแบบมาร์กซดูก็ได้นะ